รายงานข่าวล่าสุด ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ประกาศเตรียมออกแพตช์ฉุกเฉินก่อนกำหนดในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ เพื่ออุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากวิธีจัดการกับไฟล์ shortcut ของ Windows ที่เป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน หลังจากพบว่า ช่องโหว่ดังกล่าวมีการใช้ในแพร่ไวรัสอย่างแพร่หลาย
เริ่มต้นจากการที่ช่องโหว่การจัดการชอร์ทคัตของ Windows ถูกนำไปใช้ในการแพร่กระจายหนอน Stuxnet ผ่านทางยูเอสบีไดรฟ์ ซึ่งมันทำงานได้กับ Windows ทุกเวอร์ชันรวมถึง Windows 7 ด้วย โดยโค้ดไวรัสจะถูกสั่งรันผ่านชอร์ทคัตไฟล์ที่มีนามสกุล .lnk ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้เคยออก Fix It เพื่อป้องกันผู้ใช้จากการถูกโจมตี ล่าสุดมีการโจมตีโดยใช้ช่องโหว่ของไฟล์ .lnk อีกแล้วด้วยไวรัสที่มีชื่อว่า Sality.AT ซึ่งแพร่กระจายเร็วกกว่าหนอน Stuxnet มาก ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยในบล็อกของ Microsoft Malware Protection Center
"นอกจาก Sality จะสามารถติดไปกับไฟล์ต่างๆ ได้แล้ว มันยังก็อปปีตัวเองไปกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างเช่น ยูเอสบีไดรฟ์ อีกทั้งยังสามารถยกเลิกการทำงานของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก่อนที่จะดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นๆ เข้าไปถล่มเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อีกด้วย" สถานการณ์ของการโจมตีผ่านทางช่องโหว่ดังกล่าวรุนแรงมากพอจนกระทั่งไมโครซอฟท์ต้องตัดสินใจออกแพช์ฉุกเฉิน แทนที่จะรอให้ถึงอังคารที่สองของเดือน หรือวันที่ 10 สิงหาคม ตามกำหนด "สองสามวันก่อนหน้านี้ เราพบว่า มันมีความพยายามในการใช้ช่องโหว่ดังกล่าวมากขึ้น" Christopher Budd ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ โพสต์ข้อความดังกล่าวในบล็อก "เรามั่นใจว่า อัพเดตทีอ่อกมาก่อนกำหนด เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยปกป้องลูกค้าของเรา"
ที่มา arip
------------------------------------------------------------------------------------------
DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK DELL all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK ACER all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK ASUS all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK BENQ all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK COMPAQ all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK GATEWAY all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK HP all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK LENOVO all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK MSI all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK SAMSUNG all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK TOSHIBA all
TIP NOTEBOOK
-
▼
2010
(56)
-
▼
July
(19)
- Virus shortcut Windows 7 Sality.AT
- iPhone 2G,3G,3GS,4 อันไหนเร็วกว่ากัน ?
- โอนถ่ายข้อมูลผ่าน เลเซอร์ ด้วยความเร็ว 50Gbps จากอ...
- iPad สร้างภาพ 3D Hologram
- วันหมด IP Address
- Fix It อุดช่องโหว่ร้ายแรง Windows 7
- 3G คือ อะไร
- ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
- ระวัง! รอยนิ้วมือบนมือถืออาจจะถูกถอดรหัสผ่าน
- ด่วน! โทรจันฉกเงินจากแบงค์กว่าล้านเหรียญฯ
- Notebook ไฟดูด (เอาปลั๊กไฟ ตัวนี้ไปใช้เลยครับ)
- Dell Streak
- YouTube กับบางเรื่องที่คุณอาจยังไม่เคยรู้
- ดูดไฟล์ จากหน้าจอ
- Firefox 4
- SDXC คืออะไร
- SDHC คืออะไร ? ต่างจาก SD CARD อย่างไร ?
- Virus Twilight Eclipse เสิร์ช "ทไวไลท์" แต่เจอกับ...
- Domain.xxx โดเมน สำหรับผู้ใหญ่ ไฟเขียวแล้ว
-
▼
July
(19)
Saturday, July 31, 2010
Thursday, July 29, 2010
iPhone 2G,3G,3GS,4 อันไหนเร็วกว่ากัน ?
ความจริงก่อนหน้านี้ก็เคยมีการเปรียบมวยในเรื่องความเร็วของ iPhone แต่ละรุ่นกันมาบ้างแล้ว แต่ล่าสุด Mike Hellers ได้นำ iPhone ตั้งแต่รุ่น 2G, 3G, 3GS และ 4 มาเปรียบเทียบความเร็วกันอีกครั้งสำหรับใครหลายคนที่กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อเป็นรุ่นใดดี
ปกติเรามักจะรู้สึกว่า iPhone 4 มีความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสเป็กที่ระบุว่า มันใช้หน่วยประมวลผลทีมีความเร็วสูงถึง 1GHz อย่างไรก็ตาม ลองดูคลิปแสดงผลการวัดเปรียบเทียบความเร็วของ iPhone ตั้งแต่รุ่น 2G ถึง 4 ข้างล่างนี้ดูนะครับ แล้วคุณจะรู้ว่า iPhone รุ่นใดเร็วสุด และเร็วแค่ไหนกันเชียว?
iPhone 2G/3G/3GS/4 Speed Comparison from Mike Hellers on Vimeo.
ที่มา arip
ปกติเรามักจะรู้สึกว่า iPhone 4 มีความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสเป็กที่ระบุว่า มันใช้หน่วยประมวลผลทีมีความเร็วสูงถึง 1GHz อย่างไรก็ตาม ลองดูคลิปแสดงผลการวัดเปรียบเทียบความเร็วของ iPhone ตั้งแต่รุ่น 2G ถึง 4 ข้างล่างนี้ดูนะครับ แล้วคุณจะรู้ว่า iPhone รุ่นใดเร็วสุด และเร็วแค่ไหนกันเชียว?
iPhone 2G/3G/3GS/4 Speed Comparison from Mike Hellers on Vimeo.
ที่มา arip
Tuesday, July 27, 2010
โอนถ่ายข้อมูลผ่าน เลเซอร์ ด้วยความเร็ว 50Gbps จากอินเทล
รายงานข่าวล่าสุดที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการเทคโนโลยีโพรเซสเซอร์อีกครั้ง เมื่อนักวิจัยอิเทลได้พัฒนาต้นแบบชิปซิลิกอนที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานด้วยแสง ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 50 กิกะบิทต่อวินาที
ในขณะที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันจะเชื่อมโยงการทำงานด้วยสายทองแดง หรือลายวงจรที่เห็นบนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตาม การใช้โลหะต่างๆ อย่างเช่น ทองแดง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณ เมื่อต้องถ่ายโอนข้อมูลในระยะที่ห่างออกไป ข้อจำกัดนี้ส่งผลต่อกระทบในการออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะทำให้โพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ต้องอยู่ห่างกันได้ไม่กี่นิ้ว
แต่ล่าสุด Intel ได้พัฒนาชิปที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้วยแสงทำให้อุตสาหกรรมสามารถแทนที่การเชื่อมต่อแบบเดิมๆ ด้วยเส้นใยนำแสงที่มีความบางเบา อีกทั้งยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ที่ความเร็วหลายกิกะบิทต่อวินาทีในระยะทางไกลๆ ได้อีกด้วย ซึ่ง Justin Rattner ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล กล่าวว่า เทคโนโลยี silicon photonics จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ได้มากมาย "ตัวอย่างเช่น ที่อัตราเร็วในการถ่ายโอนระดับนี้ สามารถจินตนาการได้ถึงจอแสดงผล 3D ที่มีขนาดเท่าผนังห้องสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน และการประชุมผ่านวิดีโอที่ความละเอียดสูงมากจนราวกับว่า ดารา หรือสมาชิกในครอบครัวปรากฎตัวอยู่ในห้องของคุณเลยทีเดียว"
"และศูนย์ข้อมูล หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในอนาคตอาจจะกระจายองค์ประกอบของการทำงานไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร หรือแม้แต่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยสามารถสื่อสารระหว่างกันด้วยความเร็วสูง ซึ่งตรงข้ามกับทองแดงที่หนักกว่ามาก แถมยังมีข้อจำกัดในคุณสมบัติการทำงาน และการสื่อสารข้อมูลอีกด้วย" Rattner อธิบายด้วยว่า ศูนย์ข้อมูลทีใช้เทคโนโลยีชิปซิลิกอนที่สื่อสารด้วยแสงจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ของศูนย์ รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการเสิร์ช หรือผู้ให้บริการ Cloud Computing จะได้รับประสิทธิภาพของระบบการทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประหยัดต้นทุนลงได้มากทั้งในเรื่องของสถานที่ และพลังงาน
ที่มา arip
ในขณะที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันจะเชื่อมโยงการทำงานด้วยสายทองแดง หรือลายวงจรที่เห็นบนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตาม การใช้โลหะต่างๆ อย่างเช่น ทองแดง จะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณ เมื่อต้องถ่ายโอนข้อมูลในระยะที่ห่างออกไป ข้อจำกัดนี้ส่งผลต่อกระทบในการออกแบบคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะทำให้โพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ต้องอยู่ห่างกันได้ไม่กี่นิ้ว
แต่ล่าสุด Intel ได้พัฒนาชิปที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้วยแสงทำให้อุตสาหกรรมสามารถแทนที่การเชื่อมต่อแบบเดิมๆ ด้วยเส้นใยนำแสงที่มีความบางเบา อีกทั้งยังสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ที่ความเร็วหลายกิกะบิทต่อวินาทีในระยะทางไกลๆ ได้อีกด้วย ซึ่ง Justin Rattner ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล กล่าวว่า เทคโนโลยี silicon photonics จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ได้มากมาย "ตัวอย่างเช่น ที่อัตราเร็วในการถ่ายโอนระดับนี้ สามารถจินตนาการได้ถึงจอแสดงผล 3D ที่มีขนาดเท่าผนังห้องสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน และการประชุมผ่านวิดีโอที่ความละเอียดสูงมากจนราวกับว่า ดารา หรือสมาชิกในครอบครัวปรากฎตัวอยู่ในห้องของคุณเลยทีเดียว"
"และศูนย์ข้อมูล หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในอนาคตอาจจะกระจายองค์ประกอบของการทำงานไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร หรือแม้แต่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยสามารถสื่อสารระหว่างกันด้วยความเร็วสูง ซึ่งตรงข้ามกับทองแดงที่หนักกว่ามาก แถมยังมีข้อจำกัดในคุณสมบัติการทำงาน และการสื่อสารข้อมูลอีกด้วย" Rattner อธิบายด้วยว่า ศูนย์ข้อมูลทีใช้เทคโนโลยีชิปซิลิกอนที่สื่อสารด้วยแสงจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ของศูนย์ รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการเสิร์ช หรือผู้ให้บริการ Cloud Computing จะได้รับประสิทธิภาพของระบบการทำงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประหยัดต้นทุนลงได้มากทั้งในเรื่องของสถานที่ และพลังงาน
ต้นแบบลิงค์แสง (Photonics Link) ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็ว 50Gbps จะประกอบด้วยอุปกรณ์ชิปซิลิกอนที่ทำหน้่าที่เป็นภาครับ และส่งข้อมูล โดยชิปดังกล่าวจะถูกต่อเข้ากับวงจรเลเซอร์ 4 ชุดที่จะยิงลำแสงผ่านเข้าไปในวงจรรวมสัญญาณแสง (optical modulator) เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ความเร็ว 12.5Gbps จากนั้นลำแสงเลเซอร์ทั้ง 4 จะถูกรวมให้กลายเป็นสัญญาณเอาท์พุทเข้าไปในไยแก้วนำแสงเส้นเดียวสำหรับข้อมูลทั้งหมดที่ 50Gbps (4 x 12.5Gbps)
ที่ปลายสายของการเชื่อมโยง ชิปภาครับจะแยกลำแสงทั้ง 4 ออกจากัน และส่งผ่านพวกมันเข้าไปในตัวตรวจจับแสง ซึ่งจะแปลงกลับเป็นข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งนักวิจัยของ Intel จะสามารถเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้อีกด้วยการเพิ่มความเร็วของวงจรรวมสัญญาณ (optical modulator) และจำนวนของลำแสงเลเซอร์ในชิป นั่นหมายความว่า ในอนาคตทางบริษัทจะสามารถพัฒนาความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลด้วยแสงในระดับเทอราบิทต่อวินาทีก็ได้ ซึ่งเทียบได้กับการถ่ายโอนคอนเท็นต์ทั้งหมดในโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์จากต้นทางไปยังปลายทางภายใน 1 วินาทีเท่านั้น
ที่มา arip
Monday, July 26, 2010
iPad สร้างภาพ 3D Hologram
Aircord Labs พัฒนาอุปกรณ์แสดงผลที่มีดีไซน์คล้ายพีระมิดใส สามารถสร้างภาพสามมิติลอยตัว (3D Hologram) ขึ้นภายในได้ โดยใช้ iPad ทำหน้าที่สร้างภาพที่ต้องการ แม้ภาพโฮโลแกรมที่เห็นจะใช้เทคนิคการสร้างภาพลวงตาแบบหนึ่ง และที่น่าทึ่งมากๆ ก็คือ มันสามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ของภาพวัตถุสามมิติที่สร้างขึ้นได้จากแทบทุกมุมโดยไม่ต้องสวมแว่นตาแต่อย่างใด
สำหรับขั้นตอนการสร้างภาพ 3D ด้วยจอพีระมิดของ Aircord Labs นี้จะเริ่มต้นจากการสร้างภาพ 3 ภาพขึ้นบนหน้าจอ iPad โดยแต่ละภาพจถูกสะท้อนลงไปยังจอแสดงผลโฮโลแกรม และถูกรวมเป็นภาพวัตถุชิ้นเดียวตรงกลาง ซึ่งนอกจากภาพโฮโลแกรมที่ปรากฎในพีระมิดจะสามารถเคลื่อนไหวได้แล้ว ทีมพัฒนายังเพิ่มลูกเล่นในการแสดงผล โดยโต้ตอบกับเสียงผ่านทาง iPad ได้อีกด้วย เล่าให้ฟังอาจจะไม่เห็นภาพความน่าทึ่งของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ แนะนำให้ลองชมจากคลิปข้างล่างนี้ดีกว่า รับรองว่า คุณต้องชอบอย่างแน่นอน
ที่มา arip
สำหรับขั้นตอนการสร้างภาพ 3D ด้วยจอพีระมิดของ Aircord Labs นี้จะเริ่มต้นจากการสร้างภาพ 3 ภาพขึ้นบนหน้าจอ iPad โดยแต่ละภาพจถูกสะท้อนลงไปยังจอแสดงผลโฮโลแกรม และถูกรวมเป็นภาพวัตถุชิ้นเดียวตรงกลาง ซึ่งนอกจากภาพโฮโลแกรมที่ปรากฎในพีระมิดจะสามารถเคลื่อนไหวได้แล้ว ทีมพัฒนายังเพิ่มลูกเล่นในการแสดงผล โดยโต้ตอบกับเสียงผ่านทาง iPad ได้อีกด้วย เล่าให้ฟังอาจจะไม่เห็นภาพความน่าทึ่งของแก็ดเจ็ตชิ้นนี้ แนะนำให้ลองชมจากคลิปข้างล่างนี้ดีกว่า รับรองว่า คุณต้องชอบอย่างแน่นอน
N-3D DEMO from aircord on Vimeo.
ที่มา arip
Saturday, July 24, 2010
วันหมด IP Address
มิเตอร์นับถอยหลังวันหมด IP Adress
รายงานข่าวล่าสุดที่อาจทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกกังวลนั่นก็คือ IP Address หรือ IPV4 ชุดตัวเลข 32 บิต (ตัวอย่างเช่น 192.150.232.xxx) ที่ใช้อ้างอิงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (Internet) กำลังจะหมดภายในปีหน้านี้แล้ว นั่นหมายความว่า อุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะไม่มี IP ให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ฟังดูคล้ายกับปัญหา Y2K เมื่อ 10 ปีที่แล้วเลยนะครับเว็บไซต์ ReadWriteWeb รายงานว่า John Currn ซีอีโอของ American Registry of Internet Numbers (ARIN) เชื่อว่า Internet จะไม่มี IP address เหลือให้ใช้อ้างอิงภายในหนึ่งปีนับจับนี้ไป โดยสามารถติดตามการนับถอยหลังสำหรับวันที่เหลือได้จากทวิตเตอร์ IPv4 Countdown (ขณะรายงานข่าวตัวเลขแจ้งว่า เหลือแค่ 341 วันเท่านั้น)
IPv4 เป็นการใช้ชุดหมายเลข 32 บิต ซึ่งทำให้สามารถอ้างอิงไอพีแอดเดรสที่ไม่เหมือนกันได้มากสุด 4 พันล้านหมายเลข แต่ผลจากการที่อุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันต่างก็สามารถเชื่อมต่อเน็ตได้หมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ มือถือ ทีวี ไปจนถึงรถยนต์ ทำให้ IP Address ถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วจนใกล้จะหมดภายในปีหน้านี้แล้ว ทางออกที่ได้มีการดำเนินการไปก่อนหน้านี้ก็คือ การใช้ IPv6 ซึ่งจะเป็นการใช้ชุดหมายเลข 128 บิต โดยจะทำให้มีแอดเดรสไว้ใช้อ้างอิงเพิ่มขึ้นหลายเท่าทวีคูณ หรือ 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 ไอพีแอดเดรส
สถานการณ์ปัจจุบัน IPv4 เหลือแค่ 6% เท่านั้น ในขณะที่การเปลี่ยนจาก IPv4 ไปใช้ IPv6 ค่อนข้างช้า บริษัทอย่าง Google และ Facebook จะต้องทำการย้ายไอพีไปใช้การอ้างอิงแบบหมายมากมาย และหากการย้ายระบบไปสู่ IPv6 ไม่เร็วพอ จะเกิดการขาดแคลน IP จนอาจจะมีการขายไอพีในตลาดมึดด้วยราคาที่สูงมาก หวังว่า เราคงจะมีทางออกสำหรับการแก้ปัญหาในเร็ววันนี้ มิเตอร์นับถอยหลังวันหมด IP Adress
ที่มา arip
Friday, July 23, 2010
Fix It อุดช่องโหว่ร้ายแรง Windows 7
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ยืนยันรายงานข่าวการพบ "ช่องโหว่ร้ายแรง" พร้อมทั้งแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับบั๊กที่พบในไฟล์ชอร์ทคัต .LNK ใน Windows หลายเวอร์ชัน ซึ่งรวมถึง Windows 7 ด้วยนั้น ล่าสุดทางบริษัทได้ออกเครื่องมือแก้ไขโดยอัตโนมัติผ่านบริการ "Fix It" เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ก่อนที่จะออกแพตช์ตามมาอีกที
ไมโครซอฟท์ได้สร้างเครื่องมือใน Fix It เพื่ออุดช่องโหว่ชั่วคราว และป้องกันการโจมตีที่มีรายงานว่ามีการใช้ช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะมีการทำงานโดยอัตโนมัติ โดยเข้าไปยกเลิกไอคอนบางอันที่แสดงลิงค์ไปยังไฟล์ชอร์ทคัตต่างๆ ความจริง Shortcut ก็คือ "ลิงค์" หนึ่งๆ นั่นเอง แต่ถูกนำเสนอในรูปแบบของไอคอน และเชื่อมต่อกับไฟล์ที่มีนามสกุล .LNK โดยจะเชื่อมโยงการใช้งานของผู้ใช้ไปยังไฟล์ หรือโปรแกรมหนึ่งๆ ที่ต้องการใช้งาน มักจะใช้สำหรับเข้าถึงไฟล์ หรือโปรแกรมทีใช้บ่อยๆ เพราะมันช่วยให้สะดวกง่ายดายมาก
สำหรับการยกเลิกไอคอน shortcut จะทำให้ไอคอนพวกนี้แสดงผลเป็นไอคอนสี"ขาว"ที่ดีฟอลต์ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้มัลแวร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตีได้ แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อความไม่สะดวกของผู้ใช้เล็กน้อย ในส่วนของเครื่องมือแก้ไขที่ให้บริการผ่าน Fix It หลังจากผู้ใช้ให้มันจัดการแก้ไขให้แล้วจะต้องรีสตาร์ทเครื่องหนึ่งครั้ง เพื่อให้ระบบได้รับการป้องกันจากการโจมตีได้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังแนะนำเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ประเภท .LNK และ PIF
ไมโครซอฟท์เตือนผู้ใช้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับช่องโหว่วิกฤตที่พบใน Windows Shell (องค์ประกอบการทำงานของ Windows) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ Windows ตีความ ไฟล์ shortcut ผิดพลาด ทำให้มันมีโอกาสที่แฮคเกอร์จะสั่งรันโค้ดอันตรายจากบนเน็ตผ่านทางไดรฟ์ยูเอสบี หรือการแชร์บนเน็ตเวิร์กที่ติดมัลแวร์ที่ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวได้ โดยในระหว่างการโจมตี แฮคเกอร์จะสามารถสร้าง และแพร่กระจายไวรัสไปกับไดรฟ์ยูเอสบี หรือ external drive ในรูปของไฟล์ shortcut อันตรายได้
มัลแวร์จะทำงานบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เมื่อพวกเขาเปิดไดรฟ์ยูเอสบีด้วย Windows Explorer หรือแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่ทำงานกับไฟล์ shortcut (.LNK) ได้ ทั้งนี้ผู้บุกรุกสามารถฝังโค้ดไว้ในเว็บไซต์ หรือเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะติดเข้าไปยังระบบของผู้ใช้ได้ด้วยการดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ผู้บุกรุกยังสามารถฝังโค้ดอันตรายเข้าไปในไฟล์เอกสารที่สนับสนุน shortcut หรือส่วนควบคุมการทำงานของบราวเซอร์ได้อีกด้วย อย่างเช่น ไฟล์เอกสารต่างๆ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมชุด Microsoft Office
ความน่ากลัวของการใช้ช่องโหว่นี้ก็คือ แฮคเกอร์สามารถรันโค้ดอันตรายที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ถูกเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายบอต (botnet) ขนาดใหญ่ และถูกติดตั้งซอฟต์แวร์อันตรายที่ได้รับการออกแบบให้ขโมยข้อมูลสำคัญๆ ของระบบออกไป ช่องโหว่ร้ายแรงนี้จะพบได้ในแพลตฟอร์ม Windows ซึ่งรวมถึง Windows Vista และ Windows 7 ที่แพตช์เรียบร้อยแล้วด้วย แม้การออก Fix It ครั้งนี้จะเป็นการอุดช่องโหว่ได้ชั่วคราว แต่ก็ดีกว่าที่จะปล่อยให้รอไปจนถึงรอบการออกแพตช์ครั้งถัดไป เนื่องจากตอนนี้มีรายงานข่าวพบการโจมตีด้วยช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว
Download Microsoft Fix It
ที่มา arip
ไมโครซอฟท์ได้สร้างเครื่องมือใน Fix It เพื่ออุดช่องโหว่ชั่วคราว และป้องกันการโจมตีที่มีรายงานว่ามีการใช้ช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะมีการทำงานโดยอัตโนมัติ โดยเข้าไปยกเลิกไอคอนบางอันที่แสดงลิงค์ไปยังไฟล์ชอร์ทคัตต่างๆ ความจริง Shortcut ก็คือ "ลิงค์" หนึ่งๆ นั่นเอง แต่ถูกนำเสนอในรูปแบบของไอคอน และเชื่อมต่อกับไฟล์ที่มีนามสกุล .LNK โดยจะเชื่อมโยงการใช้งานของผู้ใช้ไปยังไฟล์ หรือโปรแกรมหนึ่งๆ ที่ต้องการใช้งาน มักจะใช้สำหรับเข้าถึงไฟล์ หรือโปรแกรมทีใช้บ่อยๆ เพราะมันช่วยให้สะดวกง่ายดายมาก
สำหรับการยกเลิกไอคอน shortcut จะทำให้ไอคอนพวกนี้แสดงผลเป็นไอคอนสี"ขาว"ที่ดีฟอลต์ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้มัลแวร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตีได้ แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อความไม่สะดวกของผู้ใช้เล็กน้อย ในส่วนของเครื่องมือแก้ไขที่ให้บริการผ่าน Fix It หลังจากผู้ใช้ให้มันจัดการแก้ไขให้แล้วจะต้องรีสตาร์ทเครื่องหนึ่งครั้ง เพื่อให้ระบบได้รับการป้องกันจากการโจมตีได้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังแนะนำเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ประเภท .LNK และ PIF
ไมโครซอฟท์เตือนผู้ใช้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับช่องโหว่วิกฤตที่พบใน Windows Shell (องค์ประกอบการทำงานของ Windows) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ Windows ตีความ ไฟล์ shortcut ผิดพลาด ทำให้มันมีโอกาสที่แฮคเกอร์จะสั่งรันโค้ดอันตรายจากบนเน็ตผ่านทางไดรฟ์ยูเอสบี หรือการแชร์บนเน็ตเวิร์กที่ติดมัลแวร์ที่ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวได้ โดยในระหว่างการโจมตี แฮคเกอร์จะสามารถสร้าง และแพร่กระจายไวรัสไปกับไดรฟ์ยูเอสบี หรือ external drive ในรูปของไฟล์ shortcut อันตรายได้
มัลแวร์จะทำงานบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เมื่อพวกเขาเปิดไดรฟ์ยูเอสบีด้วย Windows Explorer หรือแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่ทำงานกับไฟล์ shortcut (.LNK) ได้ ทั้งนี้ผู้บุกรุกสามารถฝังโค้ดไว้ในเว็บไซต์ หรือเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะติดเข้าไปยังระบบของผู้ใช้ได้ด้วยการดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ผู้บุกรุกยังสามารถฝังโค้ดอันตรายเข้าไปในไฟล์เอกสารที่สนับสนุน shortcut หรือส่วนควบคุมการทำงานของบราวเซอร์ได้อีกด้วย อย่างเช่น ไฟล์เอกสารต่างๆ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมชุด Microsoft Office
ความน่ากลัวของการใช้ช่องโหว่นี้ก็คือ แฮคเกอร์สามารถรันโค้ดอันตรายที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ถูกเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายบอต (botnet) ขนาดใหญ่ และถูกติดตั้งซอฟต์แวร์อันตรายที่ได้รับการออกแบบให้ขโมยข้อมูลสำคัญๆ ของระบบออกไป ช่องโหว่ร้ายแรงนี้จะพบได้ในแพลตฟอร์ม Windows ซึ่งรวมถึง Windows Vista และ Windows 7 ที่แพตช์เรียบร้อยแล้วด้วย แม้การออก Fix It ครั้งนี้จะเป็นการอุดช่องโหว่ได้ชั่วคราว แต่ก็ดีกว่าที่จะปล่อยให้รอไปจนถึงรอบการออกแพตช์ครั้งถัดไป เนื่องจากตอนนี้มีรายงานข่าวพบการโจมตีด้วยช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว
Download Microsoft Fix It
ที่มา arip
Tuesday, July 20, 2010
3G คือ อะไร
3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด
สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อเสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการสร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น
รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทรให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว
ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G
ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา
แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐานไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA
นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที
ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS
กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G ดังแสดงในรูปที่ 9
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้
ที่มา wikipedia
- “ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
- “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
- “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
- อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [1]
- ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
- ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
- ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด
สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อเสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการสร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น
รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทรให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว
ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G
ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา
แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐานไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA
นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที
ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS
กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G ดังแสดงในรูปที่ 9
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้
ที่มา wikipedia
Saturday, July 17, 2010
ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อน !!? ( ปัญหาโลกแตก มีคำตอบทางวิทยาศาสตร์แล้ว )
รายงานข่าวล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษประกาศว่า พวกเขาพบคำตอบของปัญหาโลกแตกนี้แล้ว ซึ่งก็คือ "ไก่" เกิดก่อน โดยนักวิจัยได้บันทึกคำตอบดังกล่าวลงในรายงานที่มีการเผยแพร่ออกมาแล้วว่า โปรตีนชื่อ ovocledidin-17 เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ไข่มีเปลือกแข็งอย่างที่เห็น และด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ โปรตีนที่จำเป็นดังกล่าวจะสามารถผลิตได้จากในตัวไก่เท่านั้น ดังนั้นไข่จึงไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีไก่ได้
"มันเป็นเวลานานแล้วที่เราสงสัยว่า ไข่น่าจะเกิดก่อนไก่ แต่ตอนนี้ เราได้ข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงแล้วว่า ไก่เกิดก่อน" ดร.โคลิน ฟรีแมน จากสาขาวัสดุวิศวกรรม (Department of Engineering Materials) มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ กล่าว ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การค้นพบคำตอบดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการหาคำตอบของอายุของพวกมันว่าเกิดมานานเท่าไรแล้วได้อีกด้วย
"การเข้าใจว่า ไก่สามารถสร้างเปลือกไข่ได้จากในตัวมันเองได้อย่างไร ยังทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบวัสดุ และกระบวนการผลิตใหม่ๆ อีกด้วย" ศาสตราจารย์ จอห์น ฮาร์ดิง จากมหาวิทยลัยเชฟฟิลด์ กล่าว "ธรรมชาติพบคำตอบที่เป็นนวตกรรมที่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ทุกอย่างในเรื่องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านวัสดุ เราสามารถเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายจากการค้นพบนี้"
ที่มา arip
Tuesday, July 13, 2010
ระวัง! รอยนิ้วมือบนมือถืออาจจะถูกถอดรหัสผ่าน
เชื่อไหมครับว่า รหัสผ่าน (password) บนอุปกรณ์หน้าจอสัมผัสสามารถโจรกรรมได้ง่ายมาก เพียงแค่มีรอยนิ้วมือมันๆ ของคุณ กล้อง และคอมพิวเตอร์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ รอยเปื้อนของนิ้วมือบนหน้าจอสัมผัสสามารถเปิดเผย password ของคุณได้นั่นเอง!!!
นักวิจัยจากเพนซิลวาเนียเปิดเผยในรายงานฉบับหนึ่งระหว่างการประชุม Usenix Security โดยระบุว่า รูปแบบการกดรหัสผ่าน(บนอุปกรณ์หน้าจอสัมผัส) สามารถถ่ายขึ้นมาด้วยกล้อง และตรวจสอบกลับได้จากรอยเปื้อนของนิ้วมือมันๆ บนหน้าจอด้วยวิธีปลดล็อครูปแบบ (pattern unlock method) บนคอมพิวเตอร์ "หน้าจอสัมผัส เมื่อถูกสัมผัส มันจะรอยเปื้อนมันๆ ของนิ้วมือตกค้างอยู่บนหน้าจอ ซึ่งมันสามารถส่งผลกระทบข้างเคียงที่หลายคนไม่ได้ให้ความสนใจ" ข้อความในรายงาน "รอยเปื้อนนิ้วมือเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการค้นหารูปแบบการสัมผัสของผู้ใช้ครั้งล่าสุด และบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อย ซึ่งใช้เป็นร่องรอยในการเก็บข้อมูล (พาสเวิร์ด) ได้"
นักวิจัยได้เจาะจงลงไปที่มือถือ Android เนื่องจาก OS ตัวนี้ใช้วิธีจดจำรูปแบบการลากนิ้ว (pattern-tracing method) บนหน้าจอสัมผัสในการล็อค และปลดล็อคอุปกรณ์ ซึ่งในการเข้าถึงระบบผู้ใช้จะต้องลากนิ้วที่สัมผัสบนหน้าจอระหว่าง 4 จุด โดยทีมวิจัยเปิดเผยว่า ด้วยวิธีนี้ทำให้พวกเขาสามารถถอดรหัสการเข้าถึงด้วยความถูกต้องแม่นยำ 92% โดยถ่ายรูปหน้าจอ และปรับคอนทราส เพื่อดึงลายนิ้วมันๆ ที่ตกค้างเป็นแพทเทิร์นบนหน้าจอสัมผัสนั้นๆ ทางทีมเรียกวิธีโจมตีแบบนี้ว่า "smudge attack" ทั้งนี้แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่แอบถ่ายหน้าจอมือถือของเหยื่อด้วยกล้อง และเปิดไฟล์ขึ้นมาปรับ contrast บนคอมพิวเตอร์
ในรายงานยังระบุอีกด้วยว่า เจ้าของสมาร์ทโฟนควรจะทำความสะอาดหน้าจอบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดตามร่องรอยการกดผ่านลายนิ้วมือมันๆ ที่ตกค้างไว้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเจ้าของมือถือแอนดรอยด์เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ป้องกันจากอุปกรณ์หน้าจอสัมผัสอื่นๆ ได้ด้วยอย่างเช่น ตู้เอทีเอ็ม ระบบป้อนหมายเลข PIN และอื่นๆ อีกมากมาย ทีมวิจัยเปิดเผยว่า รอยนิ้วมือที่ตกค้างบนหน้าจอเป็นแค่วิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการโจมตีอุปกรณ์หน้าจอระบบสัมผัส เพราะความจริงมันยังมีวิธีอื่นๆ อีกอย่างเช่น การตรวจจับความร้อนที่เกิดจากนิ้วมือส่งผ่านไปบนหน้าจอสัมผัส (กล้องตรวจจับอุณหภูมิที่แตกต่างสามารถเก็บภาพลายนิ้วมือที่เกิดขึ้นบนหน้าจอครั้งล่าสุดได้ไม่ยาก) เป็นต้น
ที่มา arip
นักวิจัยจากเพนซิลวาเนียเปิดเผยในรายงานฉบับหนึ่งระหว่างการประชุม Usenix Security โดยระบุว่า รูปแบบการกดรหัสผ่าน(บนอุปกรณ์หน้าจอสัมผัส) สามารถถ่ายขึ้นมาด้วยกล้อง และตรวจสอบกลับได้จากรอยเปื้อนของนิ้วมือมันๆ บนหน้าจอด้วยวิธีปลดล็อครูปแบบ (pattern unlock method) บนคอมพิวเตอร์ "หน้าจอสัมผัส เมื่อถูกสัมผัส มันจะรอยเปื้อนมันๆ ของนิ้วมือตกค้างอยู่บนหน้าจอ ซึ่งมันสามารถส่งผลกระทบข้างเคียงที่หลายคนไม่ได้ให้ความสนใจ" ข้อความในรายงาน "รอยเปื้อนนิ้วมือเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการค้นหารูปแบบการสัมผัสของผู้ใช้ครั้งล่าสุด และบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อย ซึ่งใช้เป็นร่องรอยในการเก็บข้อมูล (พาสเวิร์ด) ได้"
นักวิจัยได้เจาะจงลงไปที่มือถือ Android เนื่องจาก OS ตัวนี้ใช้วิธีจดจำรูปแบบการลากนิ้ว (pattern-tracing method) บนหน้าจอสัมผัสในการล็อค และปลดล็อคอุปกรณ์ ซึ่งในการเข้าถึงระบบผู้ใช้จะต้องลากนิ้วที่สัมผัสบนหน้าจอระหว่าง 4 จุด โดยทีมวิจัยเปิดเผยว่า ด้วยวิธีนี้ทำให้พวกเขาสามารถถอดรหัสการเข้าถึงด้วยความถูกต้องแม่นยำ 92% โดยถ่ายรูปหน้าจอ และปรับคอนทราส เพื่อดึงลายนิ้วมันๆ ที่ตกค้างเป็นแพทเทิร์นบนหน้าจอสัมผัสนั้นๆ ทางทีมเรียกวิธีโจมตีแบบนี้ว่า "smudge attack" ทั้งนี้แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่แอบถ่ายหน้าจอมือถือของเหยื่อด้วยกล้อง และเปิดไฟล์ขึ้นมาปรับ contrast บนคอมพิวเตอร์
ในรายงานยังระบุอีกด้วยว่า เจ้าของสมาร์ทโฟนควรจะทำความสะอาดหน้าจอบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดตามร่องรอยการกดผ่านลายนิ้วมือมันๆ ที่ตกค้างไว้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเจ้าของมือถือแอนดรอยด์เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ป้องกันจากอุปกรณ์หน้าจอสัมผัสอื่นๆ ได้ด้วยอย่างเช่น ตู้เอทีเอ็ม ระบบป้อนหมายเลข PIN และอื่นๆ อีกมากมาย ทีมวิจัยเปิดเผยว่า รอยนิ้วมือที่ตกค้างบนหน้าจอเป็นแค่วิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการโจมตีอุปกรณ์หน้าจอระบบสัมผัส เพราะความจริงมันยังมีวิธีอื่นๆ อีกอย่างเช่น การตรวจจับความร้อนที่เกิดจากนิ้วมือส่งผ่านไปบนหน้าจอสัมผัส (กล้องตรวจจับอุณหภูมิที่แตกต่างสามารถเก็บภาพลายนิ้วมือที่เกิดขึ้นบนหน้าจอครั้งล่าสุดได้ไม่ยาก) เป็นต้น
ที่มา arip
ด่วน! โทรจันฉกเงินจากแบงค์กว่าล้านเหรียญฯ
ระวัง!!! พบไวรัสโทรจันที่อันตรายที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยใช้ชื่อว่า Zeus trojan ล่าสุดมันได้แผลงฤทธิ์ด้วยการฉกเงินกว่า 1 ล้านเหรียญฯ (ประมาณ 34 ล้านบาท) จากลูกค้าสถาบันการเงินในอังกฤษ ประเด็นที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ เรื่องราวของโทรจัน Zeus ยังไม่ได้จบแต่เพียงเท่านี้
เรื่องราวของข่าวนี้ฟังดูคล้ายพลอตหนังฮอลลีวูดที่ผู้ร้ายสามารถเอาชนะพระเอก และหลุดรอดหนีไปได้อย่างลอยนวล ต้องรอชมภาคต่อไป โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา M86 บริษัทผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยบนเน็ตรายงานว่า พบโทรจันที่กำลังตั้งเป้าโจมตีสถาบันการเงินในสหราชอาณาจักร โดย Zeus Trojan ได้โยกย้ายเงินในบัญชีมากกว่า 1 ล้านเหรียญฯจากลูกค้าสถาบันการเงินกว่า 3,000 รายในช่วงระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคมถึง 4 สิงหาคม และยังไม่มีทีท่าที่พวกมันจะหยุดการกระทำดังกล่าว
การโจรกรรมดังกล่าวถูกพบหลังจาก กลุ่ม M86 สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์สั่งการและควบคุมการโจรกรรมดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประทศแถบยุโรปทางซีกตะวันออก อย่างไรก็ตาม M86 ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่ชัดได้ว่า เงินเหล่านั้นถูกโอนไปที่ใด แต่มีข่าวลือว่า มันถูกโอนไปยังกลุ่มมาเฟียชาวรัสเซีย หรือไม่ก็แก๊งอันธพาลในฝั่งยุโรปตะวันออก "เราไม่เคยพบการโจรกรรมออนไลน์ที่อันตราย และมีความซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน ลูกค้าควรหมั่นตรวจสอบงบบัญชีการเงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอ น่าจะเป็นการดีทีสุด" M86 กล่าวในรายงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Zeus Trojan หรือในอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันคือ Zbot ได้แพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์มากกว่า 37,000 เครื่องแล้วในสหราชอณาจักร โดยผู้ใช้ติดไวรัสตัวนี้ผ่านทางการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ปรับแต่งการทำงาน เพื่อการแพร่ไวรัสตัวนี้โดยเฉพาะ หรือบางทีก็ซ่อนตัวอยู่ในรูปของโฆษณาบนเว็บไซต์ เมื่อไวรัสติดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ มันจะรอจนกว่าผู้ใช้คลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ธนาคารที่มันรู้จัก จากนั้นก็จะเริ่มทำงานด้วยการคอยดักการพิมพ์ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดของลูกค้าธนาคารก่อนเข้ารหัส เมื่อโทรจันเข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้แล้ว มันจะตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีเงินอยู่ในบัญชีอย่างน้อย 800 ปอนด์ จากนั้นก็จะเริ่มโอนเงินจากเหยื่อรายอื่นๆ จนมียอดรวมถึง 5,000 ปอนด์ เพื่อส่งกระจายไปเก็บในบัญชีธนาคารต่างๆ และเมื่อการโอนเงินเสร็จสมบูรณ์ ไวรัสก็จะปลอมสเตทเมนท์อิเล็กทรอนิกส์ของทางแบงค์ เพื่อปกปิดยอดเงินที่โยกย้ายไป แม้ลูกค้าส่วนใหญ่จะได้เงินคืนจากแบงค์ แต่ก็ใช่ว่าทุกราย อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุด Zeus Trojan อาจจะแพร่กระจายเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ในอังกฤษมากกว่า 100,000 เครื่องแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึง การติดตามจับกุมโจรออนไลน์รายนี้จะยิ่งยากขึ้นไปอีก ในขณะที่ผู้ตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วย...
ที่มา arip
เรื่องราวของข่าวนี้ฟังดูคล้ายพลอตหนังฮอลลีวูดที่ผู้ร้ายสามารถเอาชนะพระเอก และหลุดรอดหนีไปได้อย่างลอยนวล ต้องรอชมภาคต่อไป โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา M86 บริษัทผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยบนเน็ตรายงานว่า พบโทรจันที่กำลังตั้งเป้าโจมตีสถาบันการเงินในสหราชอาณาจักร โดย Zeus Trojan ได้โยกย้ายเงินในบัญชีมากกว่า 1 ล้านเหรียญฯจากลูกค้าสถาบันการเงินกว่า 3,000 รายในช่วงระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคมถึง 4 สิงหาคม และยังไม่มีทีท่าที่พวกมันจะหยุดการกระทำดังกล่าว
การโจรกรรมดังกล่าวถูกพบหลังจาก กลุ่ม M86 สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์สั่งการและควบคุมการโจรกรรมดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประทศแถบยุโรปทางซีกตะวันออก อย่างไรก็ตาม M86 ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่ชัดได้ว่า เงินเหล่านั้นถูกโอนไปที่ใด แต่มีข่าวลือว่า มันถูกโอนไปยังกลุ่มมาเฟียชาวรัสเซีย หรือไม่ก็แก๊งอันธพาลในฝั่งยุโรปตะวันออก "เราไม่เคยพบการโจรกรรมออนไลน์ที่อันตราย และมีความซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน ลูกค้าควรหมั่นตรวจสอบงบบัญชีการเงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอ น่าจะเป็นการดีทีสุด" M86 กล่าวในรายงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า Zeus Trojan หรือในอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันคือ Zbot ได้แพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์มากกว่า 37,000 เครื่องแล้วในสหราชอณาจักร โดยผู้ใช้ติดไวรัสตัวนี้ผ่านทางการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ปรับแต่งการทำงาน เพื่อการแพร่ไวรัสตัวนี้โดยเฉพาะ หรือบางทีก็ซ่อนตัวอยู่ในรูปของโฆษณาบนเว็บไซต์ เมื่อไวรัสติดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ มันจะรอจนกว่าผู้ใช้คลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ธนาคารที่มันรู้จัก จากนั้นก็จะเริ่มทำงานด้วยการคอยดักการพิมพ์ยูสเซอร์เนม และพาสเวิร์ดของลูกค้าธนาคารก่อนเข้ารหัส เมื่อโทรจันเข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้แล้ว มันจะตรวจสอบให้แน่ใจว่า มีเงินอยู่ในบัญชีอย่างน้อย 800 ปอนด์ จากนั้นก็จะเริ่มโอนเงินจากเหยื่อรายอื่นๆ จนมียอดรวมถึง 5,000 ปอนด์ เพื่อส่งกระจายไปเก็บในบัญชีธนาคารต่างๆ และเมื่อการโอนเงินเสร็จสมบูรณ์ ไวรัสก็จะปลอมสเตทเมนท์อิเล็กทรอนิกส์ของทางแบงค์ เพื่อปกปิดยอดเงินที่โยกย้ายไป แม้ลูกค้าส่วนใหญ่จะได้เงินคืนจากแบงค์ แต่ก็ใช่ว่าทุกราย อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุด Zeus Trojan อาจจะแพร่กระจายเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ในอังกฤษมากกว่า 100,000 เครื่องแล้ว ซึ่งนั่นหมายถึง การติดตามจับกุมโจรออนไลน์รายนี้จะยิ่งยากขึ้นไปอีก ในขณะที่ผู้ตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วย...
ที่มา arip
Sunday, July 11, 2010
Notebook ไฟดูด (เอาปลั๊กไฟ ตัวนี้ไปใช้เลยครับ)
หมดปัญหา Notebook ไฟดูด
เช้าวันศุกร์อย่างนี้ ขอเริ่มต้นด้วยแก็ดเจ็ต (Gadget) ที่น่าสนใจก่อนก็แล้วกันนะครับ สำหรับแก็ดเจ็ตที่คุณผู้อ่านเห็นในรูปนี้คือ ปลั๊กพ่วงไฟฟ้า (power strip) ที่เรารู้จักกันดี แต่ภายใต้ดีไซน์ที่เรียบง่ายนี้มันกลับซ่อนคุณสมบัตพิเศษที่ไม่น่าเชื่อนั่นก็คือ คุณสามารถราดน้ำลงบนปลั๊กไฟนี้ได้โดยที่มันไม่ช็อต หรือไม่ดูดแม้นิ้วมือของคุณจะไปสัมผัสโดนส่วนที่เป็นโลหะของปลั๊กขณะที่กำลังเสียบเข้าไป
WetCircuits ชุดปลั๊กไฟอัจฉริยะจาก Shohero Technologies บริษัทในไต้หวันที่ชูจุดขายที่เหนือกว่าจนแทบไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัย Wet Circuit เป็นปลั๊กไฟที่สามารถกันน้ำ (Water Resistant) ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำน้ำหกใส่ หรือมือที่เปียกของคุณไปสัมผัสโดน งานนี้ไม่มีช็อต ไม่มีดูด แถมปลั๊กไฟก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่างหาก
นอกจากคุณสมบัติกันน้ำ และความเปียกชื้นข้างต้นแล้ว มันยังมาพร้อมกับระบบป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากนิ้วมือไปสัมผัสโดนขั้วของปลั๊กไฟขณะเสียบปลั๊ก ซึ่งคุณสมบัติทั้งสองข้อนี้น่าจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกมั่นใจ (แต่ไม่ใช่ประมาทนะครับ) ในการใช้ปลั๊กไฟรุ่นนี้แล้ว มันยังมีระบบป้องกันความร้อนเกินจนปลั๊กไหม้ และการเกิดประกายไฟฟ้าในช่องเสียบปลั๊กให้อีกด้วย สนนราคาของ Wet Circuits อยู่ที่ 35 เหรียญฯ หรือประมาณ 1,200 บาท เพื่อพิสูจน์ความสามารถของมัน ทางบริษัทได้ทำคลิปสาธิตออกมาถึง 4 ตอน ข้างล่างนีเป็นตัวที่นำมาให้ดูกันครับ *คำเตือน: อย่าทดลองทำกับปลั๊กไฟที่บ้าน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ที่มา arip
เช้าวันศุกร์อย่างนี้ ขอเริ่มต้นด้วยแก็ดเจ็ต (Gadget) ที่น่าสนใจก่อนก็แล้วกันนะครับ สำหรับแก็ดเจ็ตที่คุณผู้อ่านเห็นในรูปนี้คือ ปลั๊กพ่วงไฟฟ้า (power strip) ที่เรารู้จักกันดี แต่ภายใต้ดีไซน์ที่เรียบง่ายนี้มันกลับซ่อนคุณสมบัตพิเศษที่ไม่น่าเชื่อนั่นก็คือ คุณสามารถราดน้ำลงบนปลั๊กไฟนี้ได้โดยที่มันไม่ช็อต หรือไม่ดูดแม้นิ้วมือของคุณจะไปสัมผัสโดนส่วนที่เป็นโลหะของปลั๊กขณะที่กำลังเสียบเข้าไป
WetCircuits ชุดปลั๊กไฟอัจฉริยะจาก Shohero Technologies บริษัทในไต้หวันที่ชูจุดขายที่เหนือกว่าจนแทบไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัย Wet Circuit เป็นปลั๊กไฟที่สามารถกันน้ำ (Water Resistant) ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำน้ำหกใส่ หรือมือที่เปียกของคุณไปสัมผัสโดน งานนี้ไม่มีช็อต ไม่มีดูด แถมปลั๊กไฟก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่างหาก
นอกจากคุณสมบัติกันน้ำ และความเปียกชื้นข้างต้นแล้ว มันยังมาพร้อมกับระบบป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากนิ้วมือไปสัมผัสโดนขั้วของปลั๊กไฟขณะเสียบปลั๊ก ซึ่งคุณสมบัติทั้งสองข้อนี้น่าจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกมั่นใจ (แต่ไม่ใช่ประมาทนะครับ) ในการใช้ปลั๊กไฟรุ่นนี้แล้ว มันยังมีระบบป้องกันความร้อนเกินจนปลั๊กไหม้ และการเกิดประกายไฟฟ้าในช่องเสียบปลั๊กให้อีกด้วย สนนราคาของ Wet Circuits อยู่ที่ 35 เหรียญฯ หรือประมาณ 1,200 บาท เพื่อพิสูจน์ความสามารถของมัน ทางบริษัทได้ทำคลิปสาธิตออกมาถึง 4 ตอน ข้างล่างนีเป็นตัวที่นำมาให้ดูกันครับ *คำเตือน: อย่าทดลองทำกับปลั๊กไฟที่บ้าน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ที่มา arip
Saturday, July 10, 2010
Dell Streak
ในที่สุด Dell Streak แท็บเล็ต"แอนดรอยด์" (Android tablet) ที่มีการพูดถึงมานานแสนนานก็ได้ประเดิมวางตลาดในสหรัฐฯแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า เป้าหมายส่วนแบ่งที่้ต้องการก็คือ ผู้ใช้ iPad อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามกันต่อไปว่า Dell Streak จะแผลงฤทธิ์ได้สักแค่ไหน?
สำหรับราคาอย่างเป็นทางการของ Dell Streak แท็บเล็ตแอนดรอยด์รุ่นนี้จะมีสนนราคาอยู่ที่ 299 เหรียญฯ (ประมาณ 11,000 บาท) ภายใต้สัญญาการใช้บริการเครือข่าย 2 ปีกับ AT&T หรือ 549 เหรียญฯ (ประมาณ 18,000 บาท) สำหรับเวอร์ชัน Unlock ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อจากเว็บไซต์ Dell ได้ตั้งแต่วันพฤหัสนี้เป็นต้นไป โดยสาวกแอนดรอยด์ที่ได้ลงทะเบียนจองล่วงหน้าจะได้รับเครื่องก่อน ซึ่งทาง Dell จะส่งให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ภายใน 2 วัน โดยไม่คิดว่าบริการ
Dell Streak เป็นการผสานคุณสมบัติของแท็บเล็ตขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว (ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวเกี่ยวกับมือถือแท็บเล็ตตัวนี้ที่ไม่สามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้) กับการเป็นสมาร์ทโฟน พร้อมกล้องทั้งด้านหน้า (VGA) และหลัง (5MP) ซีพียู SnapDragon 1GHz เชื่อมต่อไร้สาย 3G, Wi-Fi และ Bluetooth ว่าแต่มันเป็นข้อตกลงทีน่าสนใจ หรือไม่? เนื่องจากคาดว่า มันจะมาพร้อมกับ Android 1.6 ในขณะเดียวกันราคาของมันยังค่อนข้างสูงอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม Dell น่าจะตัดสินใจอัพเดต Streak เป็น Android 2.2 พร้อมกับการสนับสนุนการใช้งาน Flash อย่างสบูรณ์ในที่สุด เพื่อให้มันเป็นสินค้าเรือธงอีกตัวหนึงของบริษัท
สำหรับราคาอย่างเป็นทางการของ Dell Streak แท็บเล็ตแอนดรอยด์รุ่นนี้จะมีสนนราคาอยู่ที่ 299 เหรียญฯ (ประมาณ 11,000 บาท) ภายใต้สัญญาการใช้บริการเครือข่าย 2 ปีกับ AT&T หรือ 549 เหรียญฯ (ประมาณ 18,000 บาท) สำหรับเวอร์ชัน Unlock ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อจากเว็บไซต์ Dell ได้ตั้งแต่วันพฤหัสนี้เป็นต้นไป โดยสาวกแอนดรอยด์ที่ได้ลงทะเบียนจองล่วงหน้าจะได้รับเครื่องก่อน ซึ่งทาง Dell จะส่งให้กับลูกค้ากลุ่มนี้ภายใน 2 วัน โดยไม่คิดว่าบริการ
Dell Streak เป็นการผสานคุณสมบัติของแท็บเล็ตขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว (ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวเกี่ยวกับมือถือแท็บเล็ตตัวนี้ที่ไม่สามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้) กับการเป็นสมาร์ทโฟน พร้อมกล้องทั้งด้านหน้า (VGA) และหลัง (5MP) ซีพียู SnapDragon 1GHz เชื่อมต่อไร้สาย 3G, Wi-Fi และ Bluetooth ว่าแต่มันเป็นข้อตกลงทีน่าสนใจ หรือไม่? เนื่องจากคาดว่า มันจะมาพร้อมกับ Android 1.6 ในขณะเดียวกันราคาของมันยังค่อนข้างสูงอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม Dell น่าจะตัดสินใจอัพเดต Streak เป็น Android 2.2 พร้อมกับการสนับสนุนการใช้งาน Flash อย่างสบูรณ์ในที่สุด เพื่อให้มันเป็นสินค้าเรือธงอีกตัวหนึงของบริษัท
YouTube กับบางเรื่องที่คุณอาจยังไม่เคยรู้
คุณผู้อ่านเคยทราบไหมว่า ผู่ร่วมก่อตั้ง YouTube ทั้งสามคนได้แก่ Steven Chen, Chad Hurley และ Jawed Karim เคยทำงานที่ PayPal หรือในแต่ละสัปดาห์มีผู้อัพโหลดคลิปขึ้นไปบน YouTube มากพอๆ กับการผลิตภาพยนต์ 60,000 เรื่อง และชื่อ YouTube.com ถูกจดโดเมนในวันวาเลนไทน์ปี 2005
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเปรียบเทียบที่ว่า หากจะให้ชมคลิปในยูทูบได้หมดจะต้องใช้เวลากว่า 1,700 ปี (ประมาณเกิดใหม่ 20 รอบ) หรือผู้ชมกว่าครึ่งหนึ่งของยูทูบอายุต่ำกว่า 20 ลงมา และคลิปที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นมิวสิควิดีโอเพลง Bad Romance ของ Lady Ga Ga (250 ล้านครั้ง) ตามด้วยคลิปน้องงับนิ้วพี่ชาย? ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ YouTube ที่นำมาฝากกันใน Infographic ที่ออกมาล่าสุดข้างล่างนี้ครับ
ที่มา arip
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเปรียบเทียบที่ว่า หากจะให้ชมคลิปในยูทูบได้หมดจะต้องใช้เวลากว่า 1,700 ปี (ประมาณเกิดใหม่ 20 รอบ) หรือผู้ชมกว่าครึ่งหนึ่งของยูทูบอายุต่ำกว่า 20 ลงมา และคลิปที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นมิวสิควิดีโอเพลง Bad Romance ของ Lady Ga Ga (250 ล้านครั้ง) ตามด้วยคลิปน้องงับนิ้วพี่ชาย? ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ YouTube ที่นำมาฝากกันใน Infographic ที่ออกมาล่าสุดข้างล่างนี้ครับ
ที่มา arip
Friday, July 9, 2010
ดูดไฟล์ จากหน้าจอ
ลองจินตนาการดูนะครับว่า หากเรามีอุปกรณ์สักตัวหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายๆ กับ"ปั๊มลม"ขนาดเล็ก โดยส่วนที่เป็นกระเปาะสามารถใช้นิ้วบีบเพื่อให้ลมออก หรือปล่อยเพื่อดึงลมกลับเข้าไปได้ (คล้ายที่ปัดฝุ่นหน้าเลนส์กล้องที่มีปั๊มลมติดมาด้วย) ซึ่งมันได้รับการดัดแปลงให้สามารถใช้ดูดไฟล์คอมพิวเตอร์จากหน้าจอมาเก็บไว้ เพื่อนำไปใส่ในคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ลักษณะคล้ายกับการย้ายไฟล์ได้
แก็ดเจ็ตชิ้นนี้เป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลงานทำมือจากเว็บไซต์ MAKE โดยเมือดูจากในคลิปสาธิตการทำงานของมัน เห็นแล้วต้องอึ้งไปตามๆ กัน โดยเจ้าอุปกรณ์ทีว่านี้สามารถดูดไฟล์จากไอคอนบนหน้่าจอ เพื่อก็อปปี้ไฟล์ไปไว้บนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ บนเครือข่ายเดียวกันได้ เพียงแค่นำอุปกรณ์ไปกดปั๊มลมบนตัวมัน เพื่อดูดไฟล์จากไอคอนที่ปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง แล้วนำไปจิ้มบหน้าจอคอมพิวเตอร์อีกเครื่องแล้ว แล้วไปกด เพื่อปล่อยไฟล์ดังกล่าว ทันใดนั้นไฟล์ที่ดูดมาก็จะปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทันที
ผู้สาธิตยังไม่หยุดแค่นั้น เขาได้ดูดไฟล์ต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์อีกครั้งแต่คราวนี้ กลับบีบอุปกรณ์ แล้วหันไปยังชุดเล่นเครื่องเสียง ไฟล์เพลงก็จะถูกส่งต่อให้เล่นออกมาให้ฟังได้ทันที ฟังดูเว่อร์มากๆ แต่มันก็เป็นไปแล้ว ดูก็สนุกดีนะครับ แต่จะสะดวกใช้แค่ไหน โดยส่วนตัวก็ยังไม่ค่อยจะแน่ใจอยู่เหมือนกันครับ แล้วคุณผู้อ่านคิดเห็นกันอย่างไรครับ
ที่มา arip
แก็ดเจ็ตชิ้นนี้เป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลงานทำมือจากเว็บไซต์ MAKE โดยเมือดูจากในคลิปสาธิตการทำงานของมัน เห็นแล้วต้องอึ้งไปตามๆ กัน โดยเจ้าอุปกรณ์ทีว่านี้สามารถดูดไฟล์จากไอคอนบนหน้่าจอ เพื่อก็อปปี้ไฟล์ไปไว้บนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ บนเครือข่ายเดียวกันได้ เพียงแค่นำอุปกรณ์ไปกดปั๊มลมบนตัวมัน เพื่อดูดไฟล์จากไอคอนที่ปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง แล้วนำไปจิ้มบหน้าจอคอมพิวเตอร์อีกเครื่องแล้ว แล้วไปกด เพื่อปล่อยไฟล์ดังกล่าว ทันใดนั้นไฟล์ที่ดูดมาก็จะปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทันที
ผู้สาธิตยังไม่หยุดแค่นั้น เขาได้ดูดไฟล์ต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์อีกครั้งแต่คราวนี้ กลับบีบอุปกรณ์ แล้วหันไปยังชุดเล่นเครื่องเสียง ไฟล์เพลงก็จะถูกส่งต่อให้เล่นออกมาให้ฟังได้ทันที ฟังดูเว่อร์มากๆ แต่มันก็เป็นไปแล้ว ดูก็สนุกดีนะครับ แต่จะสะดวกใช้แค่ไหน โดยส่วนตัวก็ยังไม่ค่อยจะแน่ใจอยู่เหมือนกันครับ แล้วคุณผู้อ่านคิดเห็นกันอย่างไรครับ
ที่มา arip
Wednesday, July 7, 2010
Firefox 4
รายงานข่าวล่าสุด สำหรับคุณผู้อ่านที่ติดตามเว็บไซต์ arip และเป็นสาวกของไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) ตอนนี้ทางมอซิลล่า (Mozilla) ได้เริ่มเปิดให้ดาวน์โหลด Firefox 4 Beta 1 เวอร์ชันบน Windows, Mac OS X และ Linux ไปลองใช้กันแล้ว โดยการใช้งานคุณสมบัติบางอย่างอาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้างเล็กน้อย แต่มีเสถียรภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป
สำหรับพัฒนาการของ Firefox 4 เทียบกับเวอร์ชัน 3 ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ความเร็วของการทำงาน ซึ่งเป้าหมายของ Firefox 4 ก็คือ สกัดดาวรุ่งอย่าง Chrome ของ Google ที่กำลังมาแรงแซงโค้งช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก Firefox ไปอยู่ในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน Firefox 4 ยังพยายามเร่งเครื่อง เพื่อทิ้งห่างคู่แข่งที่กำลังไล่ตามมาอย่าง Safari และ Opera อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นการกลับมาทวงศักดิ์ศรีบราวเซอร์อันดับสองอย่างแท้จริง
มอสซิลล่าคาดว่า Firefox 4 จะสามารถออกได้ก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อให้ทันกับ Internet Explorer 9 และในเวอร์ชันสมบูรณ์ของบราวเซอร์เวอร์ชันใหม่ล่าสุดจะเร็วกว่ารุ่นทดสอบอีกด้วย ในส่วนของ Firefox 4 Beta 1 ที่เปิดให้ดาวน์โหลดอยู่ในขณะนี้จะมาพร้อมกับอินเตอร์เฟซใหม่ด้วย โดยผู้ใช้เวอร์ชันบน Windows จะเห็นว่า แท็บต่างๆ ตอนนี้จะปรากฎอยู่เหนือช่องพิมพ์แอดเดรส URL ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะพบได้ในรุ่นทดสอบต่อไปสำหรับเวอร์ชันบน Mac และ Linux นอกจากนี้ Firefox 4 ยังมาพร้อมกับเมนูดรอปดาวน์ของแอพพลิเคชัน และบุ๊คมาร์คที่มุมบนซ้ายของหน้าต่างด้วย สังเกตได้ว่า เป็นการออกแบบทีตั้งใจชน Google Chrome แบบเต็มๆ
อินเตอร์เฟซอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยก็จะมีปุ่มหยุด (stop) และโหลดหน้าเว็บใหม่อีกครั้ง (reload) ตลอดจนความสามารถในการค้นหาด้วยการเปิดแท็บ ส่วนคุณสมบัติการสนับสนุนมาตรฐานต่างๆ ใน Firefox 4 ก็จะมี CSS 3 และ HTML 5 และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ระบบป้องกันปลั๊กอินล่มการทำงานของบราวเซอร์ Mozilla ยังได้มีการปรับปรุง Jetpack SDK โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาทั่วไปสามารถสร้าง add-ons ที่มีขนาดเล็ก และเร็วกว่าเดิม ทางด้านของระบบรักษาความปลอดภัยในเวอร์ชันนี้จะมีระบบป้องกันการแอบดูประวัติการท่องเน็ต (History) ของผู้ใช้ รวมถึงการป้องกันการโจมตีในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย
Firefox 4 Beta 1 จะมาพร้อมกับปุ่ม Feedback ถัดจากกล่องเสิร์ช เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรายงานผลการใช้ว่าชอบ หรือไม่ชอบอะไรกลับไปยัง Mozilla ได้ ทางบริษัทยังกล่าวอีกด้วยว่า จะออกเวอร์ชันทดสอบใหม่ของบราวเซอร์ทุกๆ สองสัปดาห์
ที่มา arip
ที่มา arip
Monday, July 5, 2010
SDXC คืออะไร
SDXC คือมาตรฐานใหม่ของ SD Card หลังจากมาตรฐาน SDHC มาตันที่ 32GB สำหรับ SDXC สามารถพัฒนาไปได้สูงสุดที่ 2TB และไม่ใช้ FAT32 แต่ใช้ exFAT ฉะนั้น ต้องใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SDXC ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์อะไรเลยที่รองรับ
สมาคม SD (SD Association) ได้เตรียมเปิดเผยมาตรฐานใหม่ของสื่อบรรจุ SD ตัวใหม่ที่ให้ชื่อว่า SDXC (SD eXtended Capacity) ที่งาน Consumer Electronics Show โดยมีความสามารถคร่าวๆ คือ
ความจุมากที่สุด 2TB ( ไฟล์ภาพความละเอียดสูง 17,000 รูป หรือหนังแบบ HD 100 เรื่อง!! )
ความเร็วการอ่านและเขียนอยู่ที่ 104MB/s ในปีนี้และอาจถึง 300MB/s ในอนาคต ใช้ระบบไฟล์ exFAT ของไมโครซอฟท์ สื่อบันทึกข้อมูลแบบ SD ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนปัจจุบันเครื่องใช้ต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ และแม้กระทั่งโทรทัศน์บางรุ่นก็สนับสนุนสื่อบันทึกชนิดนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรฐานตัวจริงจะถูกประกาศในช่วงไตรมาสแรกนี้ และคาดว่าจะเริ้องจำหน่ายได้จริงในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
Shigeto Kanda ผู้จัดการทั่วไปของ Canon กล่าวว่า "SDXC เป็นสื่อบันทึกความจุสูงที่สามารถบันทึกไฟล์แบบ RAW ได้ถึง 4,000 ภาพ , 17,000 ภาพใน JPG fine-mode และด้วยรูปแบบ exFAT จะช่วยในเรื่องของการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น และการจัดเก็บรูปภาพที่เร็วขึ้น" , "ประสิทธิภาพของ SDXC ที่เร็วขึ้นจะช่วยในการถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วยิ่งขึ้น และช่วยขยายข้อจำกัดของการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวที่มีขนาดความละเอียดสูงๆ ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปจะสามารถใช้ความสามารถของกล้องได้สูงสุด"
ก็อดใจรอกันสักนิด รับรองว่าในอนาคตได้ใช้แน่ๆ
สมาคม SD (SD Association) ได้เตรียมเปิดเผยมาตรฐานใหม่ของสื่อบรรจุ SD ตัวใหม่ที่ให้ชื่อว่า SDXC (SD eXtended Capacity) ที่งาน Consumer Electronics Show โดยมีความสามารถคร่าวๆ คือ
ความจุมากที่สุด 2TB ( ไฟล์ภาพความละเอียดสูง 17,000 รูป หรือหนังแบบ HD 100 เรื่อง!! )
ความเร็วการอ่านและเขียนอยู่ที่ 104MB/s ในปีนี้และอาจถึง 300MB/s ในอนาคต ใช้ระบบไฟล์ exFAT ของไมโครซอฟท์ สื่อบันทึกข้อมูลแบบ SD ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนปัจจุบันเครื่องใช้ต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ และแม้กระทั่งโทรทัศน์บางรุ่นก็สนับสนุนสื่อบันทึกชนิดนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรฐานตัวจริงจะถูกประกาศในช่วงไตรมาสแรกนี้ และคาดว่าจะเริ้องจำหน่ายได้จริงในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
Shigeto Kanda ผู้จัดการทั่วไปของ Canon กล่าวว่า "SDXC เป็นสื่อบันทึกความจุสูงที่สามารถบันทึกไฟล์แบบ RAW ได้ถึง 4,000 ภาพ , 17,000 ภาพใน JPG fine-mode และด้วยรูปแบบ exFAT จะช่วยในเรื่องของการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น และการจัดเก็บรูปภาพที่เร็วขึ้น" , "ประสิทธิภาพของ SDXC ที่เร็วขึ้นจะช่วยในการถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วยิ่งขึ้น และช่วยขยายข้อจำกัดของการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวที่มีขนาดความละเอียดสูงๆ ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปจะสามารถใช้ความสามารถของกล้องได้สูงสุด"
ก็อดใจรอกันสักนิด รับรองว่าในอนาคตได้ใช้แน่ๆ
SDHC คืออะไร ? ต่างจาก SD CARD อย่างไร ?
หลายๆท่านคงจะสงสัย ว่า SD กับ SDHC มันต่างกันอย่างไร แถมมันยังมี Class 2 , Class 4 , Class 6 , อีก ยิ่งงงกันไปใหญ่ ผมก็เคยเจอหลายครั้งที่ Notebook หรือ Reader รุ่นเก่าๆบางตัวไม่รองรับ SDHC หรืออุปกรณ์ บางชนิดไม่รองรับ เพราะฉะนั้น ก่อนซื้อเนะนำให้ศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน
ข้อมูลด้านเทคนิค SDHC CARD
Kingston P/N รายละเอียด
SD2/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 2)
SD2/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 2)
SD4/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD4/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD6/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 6)
SD6/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 6)
SD4/16GB 16GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD4/32GB 32GB** Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
ความจุที่เริ่มต้นจาก 4GB ทำให้การ์ด SDHC สามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบันทึกภาพ โดยรองรับรูปแบบแฟ้ม FAT 32 นอกจากนั้นการ์ด SDHC ของ KINGSTON ยังใช้การจัด “ระดับ” ที่เรียกว่า CLASS 2, 4 และ 6 ซึ่งระบุอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์ SDHC
แม้ว่าจะมีขนาดเท่ากับการ์ด SD แบบมาตรฐานในปัจจุบัน แต่การ์ด SDHC รุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้แตกต่าง และสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์แม่ข่าย SDHC เท่านั้น เพื่อให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ได้ ขอให้ดูโลโก้ SDHC บนตัวการ์ดและอุปกรณ์แม่ข่าย (กล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ และอื่นๆ)
เพื่อความน่าเชื่อถือและแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น การ์ดหน่วยความจำ SDHC ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเรา จึงทำมาจากส่วนประกอบของหน่วยความจำแบบติดแน่น และไม่มีชิ้นส่วนใดเคลื่อนที่ ทำให้เกิดการสึกหรอ หรือแตกหักได้
คุณสมบัติ/ประโยชน์ SDHC
ความจุ* — 4GB, 8GB, 16GB, 32GB
ขนาด — 0.94" X 1.26" X 0.08" (24มม X 32มม X 2.1มม)
น้ำหนัก — 0.09 ออนซ์ (2.5 ก)
การกำหนดระดับความเร็วสูง
CLASS 2: 2 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
CLASS 4: 4 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
CLASS 6: 6 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
อุณหภูมิใช้งาน —-13ºF ถึง 185ºF (-25ºC ถึง 85 ºC)
อุณหภูมิในการเก็บ —-40ºF ถึง 185ºF (-40ºC ถึง 85ºC)
แรงดันไฟฟ้า — 3.3 โวลต์
เป็นไปตามข้อกำหนด — ตรงตามข้อกำหนดการ์ด 2.00 ของ SD CARD ASSOCIATION
ปลอดภัย — สวิตช์ป้องกันการเขียนบนตัวการ์ด ช่วยป้องกันไม่ให้สูญเสียข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ
สามารถใช้งานร่วมกันได้ — กับอุปกรณ์แม่ข่าย SDHC แต่ไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์/เครื่องอ่านที่ใช้กับการ์ด SD มาตรฐานได้
รูปแบบแฟ้ม — FAT 32
น่าเชื่อถือ — รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
เรียบง่าย — ง่ายแค่เสียบแล้วเล่น
หมายเลขชิ้นส่วน Kingston Secure Digital High-Capacity:
SD2/4GB, SD4/4GB, SD6/4GB
SD2/8GB, SD4/8GB, SD6/8GB,
SD4/16GB, SD4/32GB,
การจัดเก็บข้อมูล
ดูว่าเก็บภาพและเพลงไว้บนการ์ด SECURE DIGITAL ของ KINGSTON ได้เท่าไร
ความจุของการ์ด SDHC
SDHC* 4GB* ภาพ 6 MP** 1905 ภาพ
SDHC* 8GB* ภาพ 6 MP** 3812 ภาพ
SDHC* 4GB* ภาพ 8 MP** 1270 ภาพ
SDHC* 8GB* ภาพ 8 MP** 2540 ภาพ
(MP=Megapixels: MB=Megabytes, GB = Gigabytes)
** จำนวนของภาพ JPEG (ไฟล์บีบอัด) โดยประมาณ ขนาดไฟล์ JPEG แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้องและขนาดไฟล์ภายใน และการตั้งค่าการบีบอัด รวมทั้งความละเอียดที่ผู้ใช้เลือก และการตั้งค่าโหมดการบีบอัด นอกจากนี้ การบีบอัดในรุปแบบ JPEG ยังส่งผลให้ไฟล์มีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของภาพ อุปกรณ์โฮสต์บางชนิดอาจไม่สนับสนุนความจุในการเก็บข้อมูลแฟลชตามที่ระบุ ดูความจุที่อุปกรณ์นั้นสามารถรองรับได้จากคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าว
1 เมกะไบต์ (MB) = 1,000,000 ไบต์; 1 กิกะไบต์ (GB) = 1,000,000,000 ไบต์
ข้อมูลด้านเทคนิค SDHC CARD
Kingston P/N รายละเอียด
SD2/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 2)
SD2/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 2)
SD4/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD4/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD6/4GB 4GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 6)
SD6/8GB 8GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 6)
SD4/16GB 16GB* Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
SD4/32GB 32GB** Secure Digital High-Capacity Card (Class 4)
ความจุที่เริ่มต้นจาก 4GB ทำให้การ์ด SDHC สามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบันทึกภาพ โดยรองรับรูปแบบแฟ้ม FAT 32 นอกจากนั้นการ์ด SDHC ของ KINGSTON ยังใช้การจัด “ระดับ” ที่เรียกว่า CLASS 2, 4 และ 6 ซึ่งระบุอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์ SDHC
แม้ว่าจะมีขนาดเท่ากับการ์ด SD แบบมาตรฐานในปัจจุบัน แต่การ์ด SDHC รุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้แตกต่าง และสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์แม่ข่าย SDHC เท่านั้น เพื่อให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ได้ ขอให้ดูโลโก้ SDHC บนตัวการ์ดและอุปกรณ์แม่ข่าย (กล้องดิจิตอล กล้องวิดีโอ และอื่นๆ)
เพื่อความน่าเชื่อถือและแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น การ์ดหน่วยความจำ SDHC ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเรา จึงทำมาจากส่วนประกอบของหน่วยความจำแบบติดแน่น และไม่มีชิ้นส่วนใดเคลื่อนที่ ทำให้เกิดการสึกหรอ หรือแตกหักได้
คุณสมบัติ/ประโยชน์ SDHC
ความจุ* — 4GB, 8GB, 16GB, 32GB
ขนาด — 0.94" X 1.26" X 0.08" (24มม X 32มม X 2.1มม)
น้ำหนัก — 0.09 ออนซ์ (2.5 ก)
การกำหนดระดับความเร็วสูง
CLASS 2: 2 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
CLASS 4: 4 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
CLASS 6: 6 MB/วินาที สำหรับอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขั้นต่ำ
อุณหภูมิใช้งาน —-13ºF ถึง 185ºF (-25ºC ถึง 85 ºC)
อุณหภูมิในการเก็บ —-40ºF ถึง 185ºF (-40ºC ถึง 85ºC)
แรงดันไฟฟ้า — 3.3 โวลต์
เป็นไปตามข้อกำหนด — ตรงตามข้อกำหนดการ์ด 2.00 ของ SD CARD ASSOCIATION
ปลอดภัย — สวิตช์ป้องกันการเขียนบนตัวการ์ด ช่วยป้องกันไม่ให้สูญเสียข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ
สามารถใช้งานร่วมกันได้ — กับอุปกรณ์แม่ข่าย SDHC แต่ไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์/เครื่องอ่านที่ใช้กับการ์ด SD มาตรฐานได้
รูปแบบแฟ้ม — FAT 32
น่าเชื่อถือ — รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
เรียบง่าย — ง่ายแค่เสียบแล้วเล่น
หมายเลขชิ้นส่วน Kingston Secure Digital High-Capacity:
SD2/4GB, SD4/4GB, SD6/4GB
SD2/8GB, SD4/8GB, SD6/8GB,
SD4/16GB, SD4/32GB,
การจัดเก็บข้อมูล
ดูว่าเก็บภาพและเพลงไว้บนการ์ด SECURE DIGITAL ของ KINGSTON ได้เท่าไร
ความจุของการ์ด SDHC
SDHC* 4GB* ภาพ 6 MP** 1905 ภาพ
SDHC* 8GB* ภาพ 6 MP** 3812 ภาพ
SDHC* 4GB* ภาพ 8 MP** 1270 ภาพ
SDHC* 8GB* ภาพ 8 MP** 2540 ภาพ
(MP=Megapixels: MB=Megabytes, GB = Gigabytes)
** จำนวนของภาพ JPEG (ไฟล์บีบอัด) โดยประมาณ ขนาดไฟล์ JPEG แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้องและขนาดไฟล์ภายใน และการตั้งค่าการบีบอัด รวมทั้งความละเอียดที่ผู้ใช้เลือก และการตั้งค่าโหมดการบีบอัด นอกจากนี้ การบีบอัดในรุปแบบ JPEG ยังส่งผลให้ไฟล์มีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของภาพ อุปกรณ์โฮสต์บางชนิดอาจไม่สนับสนุนความจุในการเก็บข้อมูลแฟลชตามที่ระบุ ดูความจุที่อุปกรณ์นั้นสามารถรองรับได้จากคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าว
1 เมกะไบต์ (MB) = 1,000,000 ไบต์; 1 กิกะไบต์ (GB) = 1,000,000,000 ไบต์
Friday, July 2, 2010
Virus Twilight Eclipse เสิร์ช "ทไวไลท์" แต่เจอกับไวรัส
Virus Twilight 3
ถ้าจะพูดถึงภาพยนต์ไตรภาคเรื่อง Vampire Twilight คงไม่มีใครไม่รู้จักเรื่องราวของความรักระหว่างมนุษย์และแวมไพร์อย่างแน่นอน ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ฉายในโรงมาแล้ว 2 ภาคและภาค 3 ที่ใช้ชื่อว่า Twilight Eclipse ก็ได้เริ่มเปิดฉายในวันที่ 1 กรกฎาคมหรือเมื่อวานนี้เอง ดังนั้นผู้ชมที่สนใจจะดูภาพยนต์เรื่องนี้ก็ต้องมีการเช็ครอบฉายผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ได้รอบฉายที่แน่นอนนั่นเองและในจุดนี้แหละครับที่เหล่าแฮคเกอร์ก็ได้ใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์โดยที่ผู้ใช้คิดไม่ถึง
ภาพยนต์เรื่อง Twilight: Eclipse ที่พึ่งเปิดฉายไป
ภาพตัวอย่างลิงค์ของ Twilight: Eclipse ที่เป็นอันตราย
โดยเมื่อผู้ค้นหาข้อมูลรอบฉาย ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ของ Twilight Eclipse และเมื่อพบลิงค์ที่ต้องการแล้วก็จะทำการคลิกเพื่อเข้าไปยังลิงค์ดังกล่าว ปรากฎว่าคุณจะถูกนำไปยังหน้าเว็บไซด์แอนตี้ไวรัสปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี และจะหลอกเราว่ามีไวรัสติดอยู่ในเครื่องของเราประมาณ 30 รายการ หากต้องการแก้ไขหรือกำจัดไวรัสดังกล่าวออกไปก็ให้ตอบ Yes และใส่เลขบัตรเครดิตเพื่อจ่ายเงินให้กับเว็บไซด์ปลอมเหล่านั้น แต่ความจริงนั้นตัวไซด์ไม่ได้มีการตรวจสอบไวรัสในเครื่องของเราแต่อย่างใด เมื่อทำการสแกนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่เพียงแค่โดนหลอกเอาข้อมูลบัตรเครติดไปเท่านั้นเพราะระบบของผู้ใช้ยังติดซอร์ฟแวร์แอนตีไวรัสปลอมเข้าไปด้วย ซึ่งบอกได้เลยว่าปัญหาอื่นๆ อีกมากมายนั้นตามมาแน่นอนครับ ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งหลงกลและถูกหลอกจากเหตุการณ์ดังกล่าว ถ้าใครไม่อยากจะเป็นเหยื่อคนต่อไปก็ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนที่จะกระทำการใดๆ และหาซอร์ฟแวร์แอนตี้ไวรัสมาติดเครื่องไว้แล้วก็อย่าลืมอัพเดตให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อยู่เสมอด้วยนะครับ
ที่มา i3
Thursday, July 1, 2010
Domain.xxx โดเมน สำหรับผู้ใหญ่ ไฟเขียวแล้ว
รายงานข่าวล่าสุด Icann (International Corporation for Assigned Names and Numbers) เปิดไฟเขียวสำหรับการจดทะเบียนโดเมนเนม .xxx เพื่อใช้เป็นนามสกุลสำหรับเว็บไซต์ที่เหมาะกับผู้ใหญ่เท่านั้น
นอกจากการเปิดอนุญาตให้มี .xxx สำหรับเว็บไซต์เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นได้แล้ว ทาง Icann ยังผ่านร่างการพิจารณาโดเมนเนมภาษาจีนแล้วด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ใช้ภาษาจีนหลายล้านคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ด้วยโดเมนเนมที่เป็นภาษาจีน
ที่มา arip
Subscribe to:
Posts (Atom)