DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK

------------------------------------------------------------------------------------------

Wednesday, April 21, 2010

8 วิธีดูแลรักษาข้อมูล

"ฮาร์ดดิสก์" คืออุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ เพราะถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้เก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการรวมถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลของผู้ใช้งาน หากเจ้าของเครื่องหรือผู้ใช้ ไม่ทราบวิธีการดูแลคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเลย ก็เปรียบดังการใช้รถทุกวันโดยไม่เคยเข้าศูนย์บริการและบำรุงรักษาตามระยะทาง คอมพิวเตอร์ก็เหมือนดังรถยนต์ที่ต้องการการบำรุงรักษาตามความเหมาะสมเช่นกัน แต่ปัญหาคอมพิวเตอร์เสียและฮาร์ดดิสก์พังจนไม่สามารถอ่านข้อมูลสำคัญข้างในได้นั้น จะสร้างความโกลาหลและความเจ็บปวดได้มากกว่ารถเสียหลายเท่า เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนำเสนอโครงการหรือข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ ให้กับเจ้านาย หรือลูกค้า!

ต่อไปนี้คือวิธีการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฮาร์ดดิสก์ได้รับการดูแลย่างเหมาะสม มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากขึ้น สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองดังนี้

1. สแกนหาไวรัส
ควรหาโปรแกรมป้องกัน Virus ติดตั้งไว้ในเครื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็น Freeware ก็ยังดีกว่าไม่มี โดยจะต้องตรวจสอบวันที่ล่าสุดของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) อีกด้วย เพราะถ้าเก่าเกินกว่า 15-30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ และทยอยสแกนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน

2. ลบไฟล์ขยะ หรือไฟล์ที่ไม่ได้ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ ก็จะถูกเก็บเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว หรือไฟล์ที่ถูก Download ลงมาจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์สอีกด้วย ไฟล์เหล่านี้สร้างภาระให้กับฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์เหล่านี้ ก็คือการสละเวลา นั่งพิจารณาและลบไฟล์เหล่านั้นด้วยตนเอง หรือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สก็สามารถทำได้สะดวกเช่นกัน

3. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
กรณีที่คุณ Delete ไฟล์ข้อมูลนั้นๆ ไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจากฮาร์ดดิสก์จริง แต่วินโดว์สจะระบุว่าไฟล์ที่คุณลบนั้น กลายเป็นไฟล์ที่อยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจผิด ก็สามารถเรียกคืนไฟล์เหล่านั้นคืนมาจาก Recycle Bin ได้ ซึ่งการลบแบบ Delete นั้นไม่ได้เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานไฟล์เหล่านั้นแล้ว คุณสามารถลบไฟล์แบบถาวรเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้นได้อีกด้วยโดย การคลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดไฟล์ขยะดังกล่าว

4. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษไฟล์ขยะจาก สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย ซึ่งต้องใช้โปรแกรมพิเศษอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต มาช่วยกำจัดไฟล์เหล่านี้ ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย เช่นกัน

5. ทำการสแกนดิสก์
คุณคงเคยได้ยินคำว่า Bad Sector มาบ้างแล้ว มันคือปัญหาที่เกิดจากพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เล็กระดับ Sector เกิดบกพร่องเสียหาย และถูกใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า "Bad Sector" ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขเบื้องต้นนั้น คือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยัง Sector อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกอ็อพชั่น Scan for and attempt recovery of bad sectors และควรปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่มทำการ Scandisk อีกด้วย

6. เลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีคุณภาพ
ปลั๊กไฟและสายไฟที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึง Power Supply ที่ไม่ได้คุณภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดไฟดับ ไฟกระชาก ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายได้! ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ มีความแน่นหนาและจัดเก็บเป็นระเบียบ จะช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหายจากปัญหาฮาร์ดดิสก์เสียเพราะระบบไฟฟ้าได้มาก การจัดหาเครื่องสำรองไฟ UPS มาต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เป็นหนทางป้องกันปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอีกทางหนึ่ง

7. ไม่เคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะทำงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียจนข้อมูลหายอีกประการหนึ่งคือ หัวอ่าน ( Read Write Head ) ครูดไปกับจานบันทึกข้อมูล อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊ค ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้บ่อย... เพราะว่าหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์นั้น ( Read Write Head ) จะลอยชิดอยู่เหนือจานบันทึกข้อมูลเพียงแค่ 1ใน 200 ส่วนของความหนาของเส้นผมมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น การเคลื่อนย้ายเครื่อง หรือเครื่องถูกกระแทกในขณะที่ฮาร์ดดิสก์หมุนทำงานอยู่นั้น อาจจะทำให้หัวอ่าน ตะวัด ลงไปข่วนบนจานบันทึกข้อมูลได้ และสะสม Bad Sector ไว้ทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว จนกระทั่ง ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นเหตุให้ข้อมูลหาย

8. สำรองข้อมูล
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และก้าวหน้ากว่าเมื่ก่อนมาก แต่ก็ไม่มีฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อใด ที่มีความคงทนถาวร โดยมันจะมีอายุงานและการเสื่อมสภาพเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั่วไป และโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากๆ ระดับหลายร้อย Gigabyte ไปจนถึง Terabyte ที่มีใช้แพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิด Bad Sector มากกว่าฮาร์ดดิสในสมัยก่อนมาก เนื่องจากการออกแบบส่วนประกอบภายในให้เล็กลง แต่มีความจุสูงมากขึ้น ในขณะที่ขนาดภายนอกยังดูเท่าเดิม นั่นเอง สิ่งที่คุณควรทำให้เป็นกิจวัตรก็คือการสำรองข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ที่อื่น เช่นเก็บไว้ในแผ่นซีดี ดีวีดี หรือ ฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานหลัก รวมถึงการสำรองข้อมูลไว้ใน Thumb Drive ที่มีความจุสูง หรือแม้กระทั่ง วิธีการแนบไฟล์งานส่งไปเก็บไว้ใน Email ส่วนตัวหลายๆ ที่ ก็เป็นหนทางที่ดีเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความอุ่นใจและลดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน กรณีฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายขึ้นมา


ที่มา http://www.idrlab.com/

No comments:

Post a Comment