คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะ หนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์
สิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและ ความชื้น ซอฟแวร์ แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์ และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้น อาจเสียหายได้ ถ้าหากว่า แผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วน ได้รับความร้อนสูง หรือตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำ ลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาด
ระบบคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
ความร้อน
ความ ร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา
• พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
• ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
• ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
• ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
• ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
• วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
• อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
สนามแม่เหล็ก
แม่ เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวร แหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
• แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
• คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
• ไขควงหัวแม่เหล็ก
• ลำโพง
• มอเตอร์ในพรินเตอร์
• UPS
วิธีแก้ไข
• ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น
• แรงดันเกิน
• แรงดันตก
• ทรานเชียนต์
• ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน
ใน กรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติ เป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก
ใน กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า จะมีผลทำให้เกิดเหตุการณืไฟตกได้ ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้ เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอ โดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำ เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆ ร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้
ทรานเชียนต์
ทรานเชียนต์ หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมาก จนกระทั่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม
ทุก ครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อม เครื่องใช้ไฟฟ้ที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆ ก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อม- ครั้ง ภายในเสี้ยววินาที การกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆ ส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข
• ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
• ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง
ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟ ฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
• ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
น้ำและสนิม
น้ำ และสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข
• หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
• กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป
คัดลอกบทความมาจาก: www.ecommerce2.co.cc
------------------------------------------------------------------------------------------
DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK DELL all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK ACER all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK ASUS all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK BENQ all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK COMPAQ all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK GATEWAY all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK HP all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK LENOVO all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK MSI all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK SAMSUNG all
- DOWNLOAD DRIVER NOTEBOOK TOSHIBA all
TIP NOTEBOOK
Thursday, April 29, 2010
Sunday, April 25, 2010
COMPAQ 515 WIRELES ใช้ไม่ได้ มี วิธีแก้ ครับ
COMPAQ 515-408AU DRIVER WLAN ใช้ไม่ได้ เข้าตาม Link นี้ไปเลยครับ http://downloaddrivercompaq.blogspot.com/2010/04/compaq-515-wireles.html
Wednesday, April 21, 2010
8 วิธีดูแลรักษาข้อมูล
"ฮาร์ดดิสก์" คืออุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ เพราะถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้เก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการรวมถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลของผู้ใช้งาน หากเจ้าของเครื่องหรือผู้ใช้ ไม่ทราบวิธีการดูแลคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเลย ก็เปรียบดังการใช้รถทุกวันโดยไม่เคยเข้าศูนย์บริการและบำรุงรักษาตามระยะทาง คอมพิวเตอร์ก็เหมือนดังรถยนต์ที่ต้องการการบำรุงรักษาตามความเหมาะสมเช่นกัน แต่ปัญหาคอมพิวเตอร์เสียและฮาร์ดดิสก์พังจนไม่สามารถอ่านข้อมูลสำคัญข้างในได้นั้น จะสร้างความโกลาหลและความเจ็บปวดได้มากกว่ารถเสียหลายเท่า เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนำเสนอโครงการหรือข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ ให้กับเจ้านาย หรือลูกค้า!
ต่อไปนี้คือวิธีการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฮาร์ดดิสก์ได้รับการดูแลย่างเหมาะสม มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากขึ้น สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองดังนี้
1. สแกนหาไวรัส
ควรหาโปรแกรมป้องกัน Virus ติดตั้งไว้ในเครื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็น Freeware ก็ยังดีกว่าไม่มี โดยจะต้องตรวจสอบวันที่ล่าสุดของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) อีกด้วย เพราะถ้าเก่าเกินกว่า 15-30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ และทยอยสแกนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน
2. ลบไฟล์ขยะ หรือไฟล์ที่ไม่ได้ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ ก็จะถูกเก็บเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว หรือไฟล์ที่ถูก Download ลงมาจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์สอีกด้วย ไฟล์เหล่านี้สร้างภาระให้กับฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์เหล่านี้ ก็คือการสละเวลา นั่งพิจารณาและลบไฟล์เหล่านั้นด้วยตนเอง หรือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สก็สามารถทำได้สะดวกเช่นกัน
3. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
กรณีที่คุณ Delete ไฟล์ข้อมูลนั้นๆ ไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจากฮาร์ดดิสก์จริง แต่วินโดว์สจะระบุว่าไฟล์ที่คุณลบนั้น กลายเป็นไฟล์ที่อยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจผิด ก็สามารถเรียกคืนไฟล์เหล่านั้นคืนมาจาก Recycle Bin ได้ ซึ่งการลบแบบ Delete นั้นไม่ได้เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานไฟล์เหล่านั้นแล้ว คุณสามารถลบไฟล์แบบถาวรเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้นได้อีกด้วยโดย การคลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดไฟล์ขยะดังกล่าว
4. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษไฟล์ขยะจาก สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย ซึ่งต้องใช้โปรแกรมพิเศษอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต มาช่วยกำจัดไฟล์เหล่านี้ ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย เช่นกัน
5. ทำการสแกนดิสก์
คุณคงเคยได้ยินคำว่า Bad Sector มาบ้างแล้ว มันคือปัญหาที่เกิดจากพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เล็กระดับ Sector เกิดบกพร่องเสียหาย และถูกใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า "Bad Sector" ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขเบื้องต้นนั้น คือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยัง Sector อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกอ็อพชั่น Scan for and attempt recovery of bad sectors และควรปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่มทำการ Scandisk อีกด้วย
6. เลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีคุณภาพ
ปลั๊กไฟและสายไฟที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึง Power Supply ที่ไม่ได้คุณภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดไฟดับ ไฟกระชาก ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายได้! ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ มีความแน่นหนาและจัดเก็บเป็นระเบียบ จะช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหายจากปัญหาฮาร์ดดิสก์เสียเพราะระบบไฟฟ้าได้มาก การจัดหาเครื่องสำรองไฟ UPS มาต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เป็นหนทางป้องกันปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอีกทางหนึ่ง
7. ไม่เคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะทำงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียจนข้อมูลหายอีกประการหนึ่งคือ หัวอ่าน ( Read Write Head ) ครูดไปกับจานบันทึกข้อมูล อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊ค ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้บ่อย... เพราะว่าหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์นั้น ( Read Write Head ) จะลอยชิดอยู่เหนือจานบันทึกข้อมูลเพียงแค่ 1ใน 200 ส่วนของความหนาของเส้นผมมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น การเคลื่อนย้ายเครื่อง หรือเครื่องถูกกระแทกในขณะที่ฮาร์ดดิสก์หมุนทำงานอยู่นั้น อาจจะทำให้หัวอ่าน ตะวัด ลงไปข่วนบนจานบันทึกข้อมูลได้ และสะสม Bad Sector ไว้ทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว จนกระทั่ง ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นเหตุให้ข้อมูลหาย
8. สำรองข้อมูล
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และก้าวหน้ากว่าเมื่ก่อนมาก แต่ก็ไม่มีฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อใด ที่มีความคงทนถาวร โดยมันจะมีอายุงานและการเสื่อมสภาพเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั่วไป และโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากๆ ระดับหลายร้อย Gigabyte ไปจนถึง Terabyte ที่มีใช้แพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิด Bad Sector มากกว่าฮาร์ดดิสในสมัยก่อนมาก เนื่องจากการออกแบบส่วนประกอบภายในให้เล็กลง แต่มีความจุสูงมากขึ้น ในขณะที่ขนาดภายนอกยังดูเท่าเดิม นั่นเอง สิ่งที่คุณควรทำให้เป็นกิจวัตรก็คือการสำรองข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ที่อื่น เช่นเก็บไว้ในแผ่นซีดี ดีวีดี หรือ ฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานหลัก รวมถึงการสำรองข้อมูลไว้ใน Thumb Drive ที่มีความจุสูง หรือแม้กระทั่ง วิธีการแนบไฟล์งานส่งไปเก็บไว้ใน Email ส่วนตัวหลายๆ ที่ ก็เป็นหนทางที่ดีเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความอุ่นใจและลดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน กรณีฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายขึ้นมา
ที่มา http://www.idrlab.com/
ต่อไปนี้คือวิธีการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฮาร์ดดิสก์ได้รับการดูแลย่างเหมาะสม มีความปลอดภัยต่อข้อมูลมากขึ้น สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองดังนี้
1. สแกนหาไวรัส
ควรหาโปรแกรมป้องกัน Virus ติดตั้งไว้ในเครื่อง ถึงแม้ว่าจะเป็น Freeware ก็ยังดีกว่าไม่มี โดยจะต้องตรวจสอบวันที่ล่าสุดของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) อีกด้วย เพราะถ้าเก่าเกินกว่า 15-30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ และทยอยสแกนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน
2. ลบไฟล์ขยะ หรือไฟล์ที่ไม่ได้ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ ก็จะถูกเก็บเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว หรือไฟล์ที่ถูก Download ลงมาจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์สอีกด้วย ไฟล์เหล่านี้สร้างภาระให้กับฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์เหล่านี้ ก็คือการสละเวลา นั่งพิจารณาและลบไฟล์เหล่านั้นด้วยตนเอง หรือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สก็สามารถทำได้สะดวกเช่นกัน
3. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
กรณีที่คุณ Delete ไฟล์ข้อมูลนั้นๆ ไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจากฮาร์ดดิสก์จริง แต่วินโดว์สจะระบุว่าไฟล์ที่คุณลบนั้น กลายเป็นไฟล์ที่อยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจผิด ก็สามารถเรียกคืนไฟล์เหล่านั้นคืนมาจาก Recycle Bin ได้ ซึ่งการลบแบบ Delete นั้นไม่ได้เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานไฟล์เหล่านั้นแล้ว คุณสามารถลบไฟล์แบบถาวรเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้นได้อีกด้วยโดย การคลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดไฟล์ขยะดังกล่าว
4. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษไฟล์ขยะจาก สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย ซึ่งต้องใช้โปรแกรมพิเศษอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต มาช่วยกำจัดไฟล์เหล่านี้ ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย เช่นกัน
5. ทำการสแกนดิสก์
คุณคงเคยได้ยินคำว่า Bad Sector มาบ้างแล้ว มันคือปัญหาที่เกิดจากพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เล็กระดับ Sector เกิดบกพร่องเสียหาย และถูกใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า "Bad Sector" ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจานแม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขเบื้องต้นนั้น คือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยัง Sector อื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกอ็อพชั่น Scan for and attempt recovery of bad sectors และควรปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่มทำการ Scandisk อีกด้วย
6. เลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีคุณภาพ
ปลั๊กไฟและสายไฟที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึง Power Supply ที่ไม่ได้คุณภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดไฟดับ ไฟกระชาก ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์และคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายได้! ดังนั้นการเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ มีความแน่นหนาและจัดเก็บเป็นระเบียบ จะช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหายจากปัญหาฮาร์ดดิสก์เสียเพราะระบบไฟฟ้าได้มาก การจัดหาเครื่องสำรองไฟ UPS มาต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เป็นหนทางป้องกันปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอีกทางหนึ่ง
7. ไม่เคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะทำงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียจนข้อมูลหายอีกประการหนึ่งคือ หัวอ่าน ( Read Write Head ) ครูดไปกับจานบันทึกข้อมูล อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊ค ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายได้บ่อย... เพราะว่าหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์นั้น ( Read Write Head ) จะลอยชิดอยู่เหนือจานบันทึกข้อมูลเพียงแค่ 1ใน 200 ส่วนของความหนาของเส้นผมมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น การเคลื่อนย้ายเครื่อง หรือเครื่องถูกกระแทกในขณะที่ฮาร์ดดิสก์หมุนทำงานอยู่นั้น อาจจะทำให้หัวอ่าน ตะวัด ลงไปข่วนบนจานบันทึกข้อมูลได้ และสะสม Bad Sector ไว้ทีละน้อย โดยที่เราไม่รู้ตัว จนกระทั่ง ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นเหตุให้ข้อมูลหาย
8. สำรองข้อมูล
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และก้าวหน้ากว่าเมื่ก่อนมาก แต่ก็ไม่มีฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อใด ที่มีความคงทนถาวร โดยมันจะมีอายุงานและการเสื่อมสภาพเหมือนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั่วไป และโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมากๆ ระดับหลายร้อย Gigabyte ไปจนถึง Terabyte ที่มีใช้แพร่หลายในปัจจุบันนั้น มีโอกาศเสี่ยงที่จะเกิด Bad Sector มากกว่าฮาร์ดดิสในสมัยก่อนมาก เนื่องจากการออกแบบส่วนประกอบภายในให้เล็กลง แต่มีความจุสูงมากขึ้น ในขณะที่ขนาดภายนอกยังดูเท่าเดิม นั่นเอง สิ่งที่คุณควรทำให้เป็นกิจวัตรก็คือการสำรองข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ที่อื่น เช่นเก็บไว้ในแผ่นซีดี ดีวีดี หรือ ฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานหลัก รวมถึงการสำรองข้อมูลไว้ใน Thumb Drive ที่มีความจุสูง หรือแม้กระทั่ง วิธีการแนบไฟล์งานส่งไปเก็บไว้ใน Email ส่วนตัวหลายๆ ที่ ก็เป็นหนทางที่ดีเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความอุ่นใจและลดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน กรณีฮาร์ดดิสก์เสีย ข้อมูลหายขึ้นมา
ที่มา http://www.idrlab.com/
Monday, April 19, 2010
Acer Aspire 4736zg เสียงกระตุก
วิธีแก้ Notebook Acer Aspire 4736zg เสียงกระตุกครับ วันนี้มี วิธีแก้ มาบอกให้ทุกท่านฟังครับ เนืองจากเจอมากลับตัวเองครับ Driver ในแผ่นที่แถมมาลงเล้วเสียงกระตุก หรือบางที mouse ก็กระตุกด้วย ให้ Download Driver Wlan เวอร์ชั่น ใหม่มาลง โหลดตัวที่ใช้ได้ไปที่ http://downloaddriveracer.blogspot.com/2009/01/acer-aspire-4736zg.htmlผมลองแล้วหายชัวครับ และก็สำหรับรุ่น 4730z ถ้าเป็นเหมือนกันก็ให้ Download Wlan กับ Bluetooth เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดมาลองลงเหมือน 4736zg ครับ ดูรุ่นจากใต้เครื่องได้เลยครับ
Wednesday, April 7, 2010
12 วิธีการดูแล Notebook
1.อย่าใช้งานนานเกินไป
เนื่องจากโน้ตบุ๊คมีพื้นที่ในการระบายความร้อนค่อนข้างจำกัด แม้ในปัจจุบันผู้ผลิตโน้ตบุ๊คจะติดตั้งระบบพัดลมระบายความร้อนที่มี ประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความร้อนบางส่วนสะสมอยู่ภายในเครื่องได้ ความร้อนเหล่านี้อาจส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่อง มีอายุการใช้งานสั้นลงได้หากใช้โน้ตบุ๊คไประยะหนึ่ง ประมาณ 5-6 ชั่วโมง หรือรู้สึกว่าตัวเครื่องมีความร้อนสูงพอสมควรแล้วเราก็ควรปิดเครื่องเพื่อ เป็นการพักเครื่องสักระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง น่าจะเป็นการใช้งานที่เหมาะสม
2.การกระทบกระเทือนเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน้ตบุ๊ค
เมื่อมีความจำเป็นต้องพกพาโน้ตบุ๊คไปไหนด้วย การใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันโน้ตบุ๊คจากการกระทบกระเทือน การกดทับก็เช่นกัน มีผู้ใช้บางรายใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเดินทางซึ่งอาจทำให้กระเป๋าของเรา ถูกวางซ้อนจากกระเป๋าใบอื่นได้ หรืออาจถูกจับโยนจนทำให้จอภาพแตกได้ หากนำไปเข้าศูนย์ แม้จะอยู่ในระยะเวลารับประกัน ก็ไม่สามารถเคลมประกัน เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของตัวสินค้า ดังนั้นเวลาเดินทางควรเก็บใน้ตบุ๊คในกระเป๋าถือที่อยู่กับตัวตลอดเวลาดีกว่า
3.บำรุงรักษาจอ LCD
+ หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วหรือของแข็งสัมผัสหน้าจอ เนื่องจากโครงสร้างภายในของจอ LCD ประกอบด้วยชั้นแก้วบางๆ ผลึกคริสตัลเหลว และชั้นโพลาไรซ์กรองแสง ทำให้จอ LCD เป็นจอภาพที่ค่อนข้างบอบบางต่อการกระทบกระเทือนและแรงกด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหรือของแข็ง
+ ทำความสะอาดจอภาพอย่างถูกวิธี โดยหาซื้อน้ำยาและผ้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาดหน้าจอโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่อยากเสียเงิน จะใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ (เอาแค่ชื้นๆอย่าให้น้ำหยดเด็ดขาด) มาเช็ดทำความสะอาดหน้าจอก็ได้ โดยการเช็ดทำความสะอาด ควรเช็ดอย่างเบามือที่สุด และเช็ดไปทางเดียวกัน ห้ามเช็ดแบบหมุนวนเด็ดขาด เพราะอาจเกิดรอยขีดข่วนให้กับจอภาพได้
+ ห้ามฉีดน้ำหรือน้ำยาลงบนจอภาพโดยเด็ดขาด ควรฉีดน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้าก่อนแล้วจึงนำไปเช็ด เพราะหยดหรือละอองน้ำอาจหลุดเข้าไปในช่องลำโพง คีย์บอร์ด และข้อต่อต่างๆอันอาจส่งผลให้เครื่องเสียหายได้
4.แบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน
เนื่องจากอาจมีความบกพร่องทางฮาร์ดแวร์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และไวรัสที่อาจเข้าทำลายข้อมูล ดังนั้นการแบ็คอัพข้อมูล หรือทำการสำรองข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
5.ไม่ควรเสียบชาร์จแบตเตอรี่ตลอดเวลา
เราควรใช้แบตเตอรี่ให้หมดก่อนจึงจะชาร์ตใหม่ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ หรือบางรุ่นก็แนะนำว่าทุก 2-3 เดือน ให้ใช้แบตเตอรี่จนหมดหรือเกือบหมดสักครั้งก่อนจะชาร์ตใหม่
6.ทำความสะอาดโน้ตบุ๊คอยู่เสมอ
เนื่องจากโน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ที่มีซอกมีมุมที่ฝุ่นผงมีโอกาสเข้าไปสะสมได้ อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็น แป้นคีย์บอร์ด ช่องลำโพง หรือข้อต่อต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์เสริมที่คุณควรมีก็คือ น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แปรงเล็กๆหรือหาเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็กสักเครื่องไว้ใช้ก็ดี
7.หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรก
ขณะใช้โน้ตบุ๊คควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรอยู่ใกล้กับสิ่งสกปรกต่างๆ หรือหากโน้ตบุ๊คเกิดมีคราบสกปรกเกิดขึ้นควรรีบทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดหรือ ผ้าชุบน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดทันที
8.ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด
คู่มือการใช้งานเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊ค เพราะโน็ตบุ๊คแต่ละรุ่นอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรศึกษาคู่มือการใช้งานที่มาพร้อมกับโน้ตบุ๊คอย่างละเอียด
9.หลีกเลี่ยงแผ่นดิสต์ที่ไม่สมบูรณ์
เพราะอาจทำให้ไม่สามารถนำแผ่นดิสต์ออกจากไดร์ฟได้
10.อย่าซน
ไม่ควรถอด, แกะ หรือแคะแกะชิ้นส่วนต่างๆของโน้ตบุ๊คโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครื่องเสียหายหรือหมดประกันได้ ถ้าหากโน้ตบุ๊คมีปัญหา ควรส่งศูนย์ซ่อมทันทีไม่ควรพยายามแก้ไขเครื่องด้วยตนเอง
11.หากมีอาการผิดปกติ ควรเข้าศูนย์ทันที
หากใช้งานโน้ตบุ๊คอยู่ดีๆเกิดอาการผิดปกติทางด้านฮาร์ดดิสต์เช่น ไดร์ฟอ่านไม่ค่อยได้ หรืออ่านไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ได้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้าน ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ก็ควรรีบนำเครื่องเข้าศูนย์เพื่อปรึกษาปัญหาทันที
12.ต่ออายุการรับประกัน
เมื่อหมดอายุการรับประกัน ผู้ขายโน้ตบุ๊คบางรายอาจจะให้ต่ออายุการรับประกันเพิ่มขึ้นอีก 1-3 ปี โดยต้องเสียเงินเพิ่มอีกก้อนหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับเครื่องเสียเมื่อหมดระยะเวลาการรับประกัน
ทั้งหมดก็เป็นการดูแลรักษาโน้ตบุ๊ค 12 วิธี ที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆและจะช่วยทำให้โน้ตบุ๊คที่เรารักคงอยู่กับ เราไปได้อีกนานแสนนานเลยครับผม
เนื่องจากโน้ตบุ๊คมีพื้นที่ในการระบายความร้อนค่อนข้างจำกัด แม้ในปัจจุบันผู้ผลิตโน้ตบุ๊คจะติดตั้งระบบพัดลมระบายความร้อนที่มี ประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความร้อนบางส่วนสะสมอยู่ภายในเครื่องได้ ความร้อนเหล่านี้อาจส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่อง มีอายุการใช้งานสั้นลงได้หากใช้โน้ตบุ๊คไประยะหนึ่ง ประมาณ 5-6 ชั่วโมง หรือรู้สึกว่าตัวเครื่องมีความร้อนสูงพอสมควรแล้วเราก็ควรปิดเครื่องเพื่อ เป็นการพักเครื่องสักระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง น่าจะเป็นการใช้งานที่เหมาะสม
2.การกระทบกระเทือนเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน้ตบุ๊ค
เมื่อมีความจำเป็นต้องพกพาโน้ตบุ๊คไปไหนด้วย การใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันโน้ตบุ๊คจากการกระทบกระเทือน การกดทับก็เช่นกัน มีผู้ใช้บางรายใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเดินทางซึ่งอาจทำให้กระเป๋าของเรา ถูกวางซ้อนจากกระเป๋าใบอื่นได้ หรืออาจถูกจับโยนจนทำให้จอภาพแตกได้ หากนำไปเข้าศูนย์ แม้จะอยู่ในระยะเวลารับประกัน ก็ไม่สามารถเคลมประกัน เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของตัวสินค้า ดังนั้นเวลาเดินทางควรเก็บใน้ตบุ๊คในกระเป๋าถือที่อยู่กับตัวตลอดเวลาดีกว่า
3.บำรุงรักษาจอ LCD
+ หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วหรือของแข็งสัมผัสหน้าจอ เนื่องจากโครงสร้างภายในของจอ LCD ประกอบด้วยชั้นแก้วบางๆ ผลึกคริสตัลเหลว และชั้นโพลาไรซ์กรองแสง ทำให้จอ LCD เป็นจอภาพที่ค่อนข้างบอบบางต่อการกระทบกระเทือนและแรงกด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหรือของแข็ง
+ ทำความสะอาดจอภาพอย่างถูกวิธี โดยหาซื้อน้ำยาและผ้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาดหน้าจอโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่อยากเสียเงิน จะใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ (เอาแค่ชื้นๆอย่าให้น้ำหยดเด็ดขาด) มาเช็ดทำความสะอาดหน้าจอก็ได้ โดยการเช็ดทำความสะอาด ควรเช็ดอย่างเบามือที่สุด และเช็ดไปทางเดียวกัน ห้ามเช็ดแบบหมุนวนเด็ดขาด เพราะอาจเกิดรอยขีดข่วนให้กับจอภาพได้
+ ห้ามฉีดน้ำหรือน้ำยาลงบนจอภาพโดยเด็ดขาด ควรฉีดน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้าก่อนแล้วจึงนำไปเช็ด เพราะหยดหรือละอองน้ำอาจหลุดเข้าไปในช่องลำโพง คีย์บอร์ด และข้อต่อต่างๆอันอาจส่งผลให้เครื่องเสียหายได้
4.แบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน
เนื่องจากอาจมีความบกพร่องทางฮาร์ดแวร์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และไวรัสที่อาจเข้าทำลายข้อมูล ดังนั้นการแบ็คอัพข้อมูล หรือทำการสำรองข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
5.ไม่ควรเสียบชาร์จแบตเตอรี่ตลอดเวลา
เราควรใช้แบตเตอรี่ให้หมดก่อนจึงจะชาร์ตใหม่ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ หรือบางรุ่นก็แนะนำว่าทุก 2-3 เดือน ให้ใช้แบตเตอรี่จนหมดหรือเกือบหมดสักครั้งก่อนจะชาร์ตใหม่
6.ทำความสะอาดโน้ตบุ๊คอยู่เสมอ
เนื่องจากโน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ที่มีซอกมีมุมที่ฝุ่นผงมีโอกาสเข้าไปสะสมได้ อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็น แป้นคีย์บอร์ด ช่องลำโพง หรือข้อต่อต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์เสริมที่คุณควรมีก็คือ น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แปรงเล็กๆหรือหาเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็กสักเครื่องไว้ใช้ก็ดี
7.หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรก
ขณะใช้โน้ตบุ๊คควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรอยู่ใกล้กับสิ่งสกปรกต่างๆ หรือหากโน้ตบุ๊คเกิดมีคราบสกปรกเกิดขึ้นควรรีบทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดหรือ ผ้าชุบน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดทันที
8.ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด
คู่มือการใช้งานเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊ค เพราะโน็ตบุ๊คแต่ละรุ่นอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรศึกษาคู่มือการใช้งานที่มาพร้อมกับโน้ตบุ๊คอย่างละเอียด
9.หลีกเลี่ยงแผ่นดิสต์ที่ไม่สมบูรณ์
เพราะอาจทำให้ไม่สามารถนำแผ่นดิสต์ออกจากไดร์ฟได้
10.อย่าซน
ไม่ควรถอด, แกะ หรือแคะแกะชิ้นส่วนต่างๆของโน้ตบุ๊คโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครื่องเสียหายหรือหมดประกันได้ ถ้าหากโน้ตบุ๊คมีปัญหา ควรส่งศูนย์ซ่อมทันทีไม่ควรพยายามแก้ไขเครื่องด้วยตนเอง
11.หากมีอาการผิดปกติ ควรเข้าศูนย์ทันที
หากใช้งานโน้ตบุ๊คอยู่ดีๆเกิดอาการผิดปกติทางด้านฮาร์ดดิสต์เช่น ไดร์ฟอ่านไม่ค่อยได้ หรืออ่านไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ได้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้าน ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ก็ควรรีบนำเครื่องเข้าศูนย์เพื่อปรึกษาปัญหาทันที
12.ต่ออายุการรับประกัน
เมื่อหมดอายุการรับประกัน ผู้ขายโน้ตบุ๊คบางรายอาจจะให้ต่ออายุการรับประกันเพิ่มขึ้นอีก 1-3 ปี โดยต้องเสียเงินเพิ่มอีกก้อนหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับเครื่องเสียเมื่อหมดระยะเวลาการรับประกัน
ทั้งหมดก็เป็นการดูแลรักษาโน้ตบุ๊ค 12 วิธี ที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆและจะช่วยทำให้โน้ตบุ๊คที่เรารักคงอยู่กับ เราไปได้อีกนานแสนนานเลยครับผม
ที่มา http://2poto.com/html/component/option,com_fireboard/Itemid,50/func,view/catid,13/id,1466/
7 ข้อปฏิบัติในการดูแล Notebook ของคุณ
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้งานโน๊ตบุ้กเริ่มมีบทบาทสำคัญในการทำงานในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าราคาโน๊ตบุ้กในปัจจุบันจะมีราคาไม่สูงเท่าสมัยก่อน จนทุกท่านสามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ไม่ยากนัก แต่ทุกท่านก็คงอยากจะรักษาโน๊ตบุ้กของตัวเองให้สามารถใช้งานได้ดีให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนของคุณมากที่สุด ซึ่งโดยปกติโน๊ตบุ้กจะมีอายุการใช้ระหว่าง 3 5 ปี
การดูแลรักษาโน๊ตบุ้กก็คล้ายๆกับการดูแลรักษาสุขภาพของเรา ซึ่งจะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยในที่นี้ผมจะขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับโน๊ตบุ้กสุดรักของคุณเป็นข้อๆจำนวน 7 ข้อดังต่อไปนี้
1. ระบายความร้อนใต้เครื่องให้ดี
ความร้อนสะสมภายในเครื่องเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน๊ตบุ้ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร้อนบริเวณใต้เครื่อง ซึ่งปกติตัวเครื่องจะเกือบถูกวางแนบไว้กับพื้นโต๊ะ ซึ่งทำให้มีช่องว่างเพียงนิดเดียวที่อากาศเย็นจากภายนอก จะสามารถไหลเวียนเข้าไปเพื่อพาอากาศร้อนใต้เครื่องให้ออกมาได้ จึงทำให้ความร้อนสะสมภายในเครื่อง สูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมีผลโดยตรงการอายุการใช้งานของชิ้นต่างๆภายในเครื่องในระยะ ผมจึงขอแนะนำให้หาฐานวางโน๊ตบุ้กมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความไหลเวียนของอากาศบริเวณใต้เครื่อง ถ้าเป็นรุ่นที่มีพัดลมระบายอากาศได้ด้วยยิ่งดี และหลีกเลี่ยงการใช้งานโน๊ตบุ้กบนเตียงหรือบนเบาะนุ่มๆอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นจะเป็นการตัดระบบการระบายความร้อนใต้เครื่องอย่างสิ้นเชิง
2. อย่าเพิ่งปิดฝาเลยทันทีที่เลิกใช้
ถึงแม้คุณจะได้ปฏิบัติตามข้อที่หนึ่งที่ช่วยลดความร้อนสะสมในตัวเครื่อง ในระหว่างที่ใช้งานไปแล้วการระบายความร้อนในช่วงที่ปิดเครื่องใหม่ๆก็มีความสำคัญเช่นกัน การปิดฝาเครื่องทันทีที่เลิกใช้จะทำให้ความร้อนที่เกิดระหว่างที่เปิด ใช้งานสะสมอยู่ในเครื่องนานกว่าที่ควรจะเป็นเพราะตัวมีเวลาไม่พอที่จะคลายความร้อนทั้งหมดออกมา ดังนั้นผมจึงขอแนะนำว่าหลังจากที่คุณใช้งานเสร็จ ให้คุณดึงปลั้กหม้อแปลงชาร์ตไฟออกตามปกติ แต่เปิดฝาเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 3 5 นาที เพื่อให้เครื่องมีเวลาในการระบายความร้อน ในช่วงที่เปิดใช้งานให้หมดก่อน จากนั้นจึงค่อยปิดฝาเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองต่างๆลงบนเครื่อง
3. ห้ามถอดแบตเตอรี่อย่างเด็ดขาด
หลายๆท่านคงเคยได้ยินคนบอกว่า ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องในระหว่างที่ใช้อยู่ในบ้าน เพื่อเป็นการถนอมอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ แต่ผมขอบอกว่านั่นเป็นความคิดที่ผิดมากๆ จริงอยู่การทำเช่นนั้นจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวขึ้น แต่นั่นก็เป็นการทำให้อายุการใช้งานของเครื่องโดยรวมสั้นลงเช่นกัน เพราะเมื่อมีเหตุการณ์ไฟตกหรือไฟดับ ตัวเครื่องก็จะหยุดการทำงานในทันทีโดยไม่มีการปิดเครื่องอย่างถูกต้องซึ่งนอกจากจะทำให้คุณสูญเสียงานที่กำลังทำอยู่แล้วยังเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนอย่างฮาร์ดดิสก์ในระยะยาวเป็นอย่างมาก ผมจึงขอแนะนำให้ห้ายถอดแบตเตอรี่อยู่เป็นประจำอย่างเด็ดขาด และเสียบใช้ไฟผ่านหม้อแปลงทุกครั้งที่มีโอกาสใช้ไฟจากปลั้ก
4. การเสียบแจ๊ตชาร์ตจากหม้อแปลงไฟฟ้าให้ถูกต้อง
บางท่านอ่านที่หัวข้อแล้วจะงงๆว่าการเสียบแจ๊ตชาร์ตไฟมีวิธีที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องด้วยหรือ ผมบอกได้เลยว่ามี และถ้าไม่ระวังให้ดีจะมีผลให้ไฟช๊อตเมนบอร์ดของเครื่องได้ด้วย ซึ่งคงจะไม่ได้ทำให้เสียในทันที แต่จะมีผลในระยะยาวอย่างแน่นอน ไฟซ๊อตจะเกิดขึ้นตอนที่คุณเสียบแจ๊ตเนี่ยล่ะครับ คุณเคยสังเกตตอนที่คุณเสียบแจ๊ตชาร์ตไฟ กับตัวเครื่องมั้ยครับว่า บางครั้งจะเกิดประกายไฟขึ้นตอนที่เสียบ นั่นเป็นเพราะคุณเสียบ ไม่ถูกต้องนั้นเอง วิธีที่ถูกต้องคือตอนเปิดใช้ให้เสียบแจ๊ตที่ชาร์ตไฟจากหม้อแปลง ไฟฟ้าที่เครื่องก่อนแล้วค่อยเสียบปลั้กและตอนเลิกใช้ให้ถอดปลั้กไฟและรอให้ไฟที่ตัวหม้อแปลงไฟฟ้าดับก่อนแล้ว ค่อยถอดแจ๊ตออกจากตัวเครื่อง ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ตัดโอกาสไฟช๊อตอันเกิดจากประกายไฟตอนที่เสียบหรือถอดแจ๊ตได้อย่างเด็ดขาด
5. ก่อนเคลื่อนย้ายให้ปิดฝาเครื่องก่อน
ปัญหาบานพับโน้ตบุ้กหักเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้โน๊ตบุ้กต้องปวดหัวกันมาก ส่วนใหญ่จะโทษบริษัทผู้ผลิตที่ใช้วัสดุไม่ดี หรือออกแบบมาไม่ดีพอ แต่จริงๆแล้วปัญหาบานพับหักนี้มักจะเกิดจากการใช้งานไม่ถูกต้องเองมากกว่า เช่น การเปิดฝากหน้าจอไว้ในขณะยกเคลื่อนย้าย, การใช้มือเปล่าถือเครื่องไปโดยไม่ได้ใส่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อน เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ข้อต่อบานพับมีการขยับเขยือนมากกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อนานวันเข้าก็จะเริ่มแตกร้าวและหักได้ในที่สุด คุณสามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ด้วยการปิดฝาเครื่องทุกครั้งก่อนที่จะยกเคลื่อนย้าย และหากต้องเคลื่อนย้ายไปไกลๆก็แนะนำให้เก็บเครื่องใส่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อน จะเป็นการป้องกันการแตกหักของบานพับได้ดีที่สุด
6. ใช้งานช่องพอร์ต USB และ PCMCIA ในเครื่องเท่าที่จำเป็น
ปกติการใช้งานช่องพอร์ต USB และ PCMCIA สำหรับการใช้งานอุปกรณ์เสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USB Drive, TV Tuner Card, Wireless Network Card หรือ FireWire Card จะทำให้ซีพียูต้องทำงานมากกว่าปกติ และเมื่อซีพียูมีการทำงานมากขึ้น ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของซีพียูที่มากขึ้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ยังทำให้ความร้อนสะสมภายในเครื่องเพิ่มสูงขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งความร้อนสะสมที่มากกว่าปกติจะมีผลโดยตรงทำให้อายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆในเครื่องสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น ผมจึงขอแนะนำให้ใช้งานอุปกรณ์เสริมต่างเท่าที่จำเป็น ดึงออกทันทีที่ใช้เสร็จ และหลีกเลี่ยงการเสียบทิ้งไว้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องใช้งาน
7. อย่าทิ้งแผ่นซีดี/ดีวีดีไว้ในเครื่องอย่างเด็ดขาด
ผมเชื่อว่าคงมีหลายๆท่านที่ชอบเผลอลืมใส่แผ่นซีดี/ดีวีดีทิ้งไว้ในเครื่อง โดยไม่รู้ตัวว่านั่นเป็นการทำให้ไดร์ฟซีดี/ดีวีดีต้องทำงานมากกว่าปกติ เพราะต้องมีการอ่านข้อมูลทุกเครื่องที่มีการเปิดเครื่องขึ้นมา และต้องอ่านแผ่นเพิ่มขึ้นในหลายๆครั้งที่คุณเปิด Windows Explorer ซึ่งจะทำให้หัวอ่านของไดร์ฟซีดี/ดีวีดีต้องทำงานมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้อายุการใช้งานของไดร์ฟซีดี/ดีวีดีสั้นลง ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอแนะนำให้เอาแผ่นซีดี/ดีวีดีออกจากเครื่องทุกครั้งที่คุณใช้งานจากแผ่นเสร็จ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
ข้อปฏิบัติที่ผมกล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆที่หลายท่านมักจะมองข้ามไป แต่ถ้าคุณสามารถปฏิบัติได้และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผมเชื่อแน่เลยว่าโน๊ตบุ้กของคุณจะอยู่รับใช้คุณไปได้อีกนาน ไม่ต้องไปพาไปเที่ยวที่ศูนย์ซ่อมเป็นประจำเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับหลายๆคนอย่างแน่นอน
ที่มา http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=41778.0
การดูแลรักษาโน๊ตบุ้กก็คล้ายๆกับการดูแลรักษาสุขภาพของเรา ซึ่งจะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยในที่นี้ผมจะขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับโน๊ตบุ้กสุดรักของคุณเป็นข้อๆจำนวน 7 ข้อดังต่อไปนี้
1. ระบายความร้อนใต้เครื่องให้ดี
ความร้อนสะสมภายในเครื่องเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน๊ตบุ้ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร้อนบริเวณใต้เครื่อง ซึ่งปกติตัวเครื่องจะเกือบถูกวางแนบไว้กับพื้นโต๊ะ ซึ่งทำให้มีช่องว่างเพียงนิดเดียวที่อากาศเย็นจากภายนอก จะสามารถไหลเวียนเข้าไปเพื่อพาอากาศร้อนใต้เครื่องให้ออกมาได้ จึงทำให้ความร้อนสะสมภายในเครื่อง สูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมีผลโดยตรงการอายุการใช้งานของชิ้นต่างๆภายในเครื่องในระยะ ผมจึงขอแนะนำให้หาฐานวางโน๊ตบุ้กมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความไหลเวียนของอากาศบริเวณใต้เครื่อง ถ้าเป็นรุ่นที่มีพัดลมระบายอากาศได้ด้วยยิ่งดี และหลีกเลี่ยงการใช้งานโน๊ตบุ้กบนเตียงหรือบนเบาะนุ่มๆอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นจะเป็นการตัดระบบการระบายความร้อนใต้เครื่องอย่างสิ้นเชิง
2. อย่าเพิ่งปิดฝาเลยทันทีที่เลิกใช้
ถึงแม้คุณจะได้ปฏิบัติตามข้อที่หนึ่งที่ช่วยลดความร้อนสะสมในตัวเครื่อง ในระหว่างที่ใช้งานไปแล้วการระบายความร้อนในช่วงที่ปิดเครื่องใหม่ๆก็มีความสำคัญเช่นกัน การปิดฝาเครื่องทันทีที่เลิกใช้จะทำให้ความร้อนที่เกิดระหว่างที่เปิด ใช้งานสะสมอยู่ในเครื่องนานกว่าที่ควรจะเป็นเพราะตัวมีเวลาไม่พอที่จะคลายความร้อนทั้งหมดออกมา ดังนั้นผมจึงขอแนะนำว่าหลังจากที่คุณใช้งานเสร็จ ให้คุณดึงปลั้กหม้อแปลงชาร์ตไฟออกตามปกติ แต่เปิดฝาเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 3 5 นาที เพื่อให้เครื่องมีเวลาในการระบายความร้อน ในช่วงที่เปิดใช้งานให้หมดก่อน จากนั้นจึงค่อยปิดฝาเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองต่างๆลงบนเครื่อง
3. ห้ามถอดแบตเตอรี่อย่างเด็ดขาด
หลายๆท่านคงเคยได้ยินคนบอกว่า ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องในระหว่างที่ใช้อยู่ในบ้าน เพื่อเป็นการถนอมอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ แต่ผมขอบอกว่านั่นเป็นความคิดที่ผิดมากๆ จริงอยู่การทำเช่นนั้นจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวขึ้น แต่นั่นก็เป็นการทำให้อายุการใช้งานของเครื่องโดยรวมสั้นลงเช่นกัน เพราะเมื่อมีเหตุการณ์ไฟตกหรือไฟดับ ตัวเครื่องก็จะหยุดการทำงานในทันทีโดยไม่มีการปิดเครื่องอย่างถูกต้องซึ่งนอกจากจะทำให้คุณสูญเสียงานที่กำลังทำอยู่แล้วยังเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนอย่างฮาร์ดดิสก์ในระยะยาวเป็นอย่างมาก ผมจึงขอแนะนำให้ห้ายถอดแบตเตอรี่อยู่เป็นประจำอย่างเด็ดขาด และเสียบใช้ไฟผ่านหม้อแปลงทุกครั้งที่มีโอกาสใช้ไฟจากปลั้ก
4. การเสียบแจ๊ตชาร์ตจากหม้อแปลงไฟฟ้าให้ถูกต้อง
บางท่านอ่านที่หัวข้อแล้วจะงงๆว่าการเสียบแจ๊ตชาร์ตไฟมีวิธีที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องด้วยหรือ ผมบอกได้เลยว่ามี และถ้าไม่ระวังให้ดีจะมีผลให้ไฟช๊อตเมนบอร์ดของเครื่องได้ด้วย ซึ่งคงจะไม่ได้ทำให้เสียในทันที แต่จะมีผลในระยะยาวอย่างแน่นอน ไฟซ๊อตจะเกิดขึ้นตอนที่คุณเสียบแจ๊ตเนี่ยล่ะครับ คุณเคยสังเกตตอนที่คุณเสียบแจ๊ตชาร์ตไฟ กับตัวเครื่องมั้ยครับว่า บางครั้งจะเกิดประกายไฟขึ้นตอนที่เสียบ นั่นเป็นเพราะคุณเสียบ ไม่ถูกต้องนั้นเอง วิธีที่ถูกต้องคือตอนเปิดใช้ให้เสียบแจ๊ตที่ชาร์ตไฟจากหม้อแปลง ไฟฟ้าที่เครื่องก่อนแล้วค่อยเสียบปลั้กและตอนเลิกใช้ให้ถอดปลั้กไฟและรอให้ไฟที่ตัวหม้อแปลงไฟฟ้าดับก่อนแล้ว ค่อยถอดแจ๊ตออกจากตัวเครื่อง ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ตัดโอกาสไฟช๊อตอันเกิดจากประกายไฟตอนที่เสียบหรือถอดแจ๊ตได้อย่างเด็ดขาด
5. ก่อนเคลื่อนย้ายให้ปิดฝาเครื่องก่อน
ปัญหาบานพับโน้ตบุ้กหักเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้โน๊ตบุ้กต้องปวดหัวกันมาก ส่วนใหญ่จะโทษบริษัทผู้ผลิตที่ใช้วัสดุไม่ดี หรือออกแบบมาไม่ดีพอ แต่จริงๆแล้วปัญหาบานพับหักนี้มักจะเกิดจากการใช้งานไม่ถูกต้องเองมากกว่า เช่น การเปิดฝากหน้าจอไว้ในขณะยกเคลื่อนย้าย, การใช้มือเปล่าถือเครื่องไปโดยไม่ได้ใส่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อน เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ข้อต่อบานพับมีการขยับเขยือนมากกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อนานวันเข้าก็จะเริ่มแตกร้าวและหักได้ในที่สุด คุณสามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ด้วยการปิดฝาเครื่องทุกครั้งก่อนที่จะยกเคลื่อนย้าย และหากต้องเคลื่อนย้ายไปไกลๆก็แนะนำให้เก็บเครื่องใส่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อน จะเป็นการป้องกันการแตกหักของบานพับได้ดีที่สุด
6. ใช้งานช่องพอร์ต USB และ PCMCIA ในเครื่องเท่าที่จำเป็น
ปกติการใช้งานช่องพอร์ต USB และ PCMCIA สำหรับการใช้งานอุปกรณ์เสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USB Drive, TV Tuner Card, Wireless Network Card หรือ FireWire Card จะทำให้ซีพียูต้องทำงานมากกว่าปกติ และเมื่อซีพียูมีการทำงานมากขึ้น ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของซีพียูที่มากขึ้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ยังทำให้ความร้อนสะสมภายในเครื่องเพิ่มสูงขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งความร้อนสะสมที่มากกว่าปกติจะมีผลโดยตรงทำให้อายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆในเครื่องสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น ผมจึงขอแนะนำให้ใช้งานอุปกรณ์เสริมต่างเท่าที่จำเป็น ดึงออกทันทีที่ใช้เสร็จ และหลีกเลี่ยงการเสียบทิ้งไว้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องใช้งาน
7. อย่าทิ้งแผ่นซีดี/ดีวีดีไว้ในเครื่องอย่างเด็ดขาด
ผมเชื่อว่าคงมีหลายๆท่านที่ชอบเผลอลืมใส่แผ่นซีดี/ดีวีดีทิ้งไว้ในเครื่อง โดยไม่รู้ตัวว่านั่นเป็นการทำให้ไดร์ฟซีดี/ดีวีดีต้องทำงานมากกว่าปกติ เพราะต้องมีการอ่านข้อมูลทุกเครื่องที่มีการเปิดเครื่องขึ้นมา และต้องอ่านแผ่นเพิ่มขึ้นในหลายๆครั้งที่คุณเปิด Windows Explorer ซึ่งจะทำให้หัวอ่านของไดร์ฟซีดี/ดีวีดีต้องทำงานมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้อายุการใช้งานของไดร์ฟซีดี/ดีวีดีสั้นลง ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอแนะนำให้เอาแผ่นซีดี/ดีวีดีออกจากเครื่องทุกครั้งที่คุณใช้งานจากแผ่นเสร็จ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
ข้อปฏิบัติที่ผมกล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆที่หลายท่านมักจะมองข้ามไป แต่ถ้าคุณสามารถปฏิบัติได้และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผมเชื่อแน่เลยว่าโน๊ตบุ้กของคุณจะอยู่รับใช้คุณไปได้อีกนาน ไม่ต้องไปพาไปเที่ยวที่ศูนย์ซ่อมเป็นประจำเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับหลายๆคนอย่างแน่นอน
ที่มา http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=41778.0
Subscribe to:
Posts (Atom)